ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
คำสำคัญ:
ปัจจัย , การจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและสร้างสมการพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ที่ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ครูคณิตศาสตร์ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์การทดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 อยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.14 )
- ระดับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 อยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.02)
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ทั้ง 5 ด้าน ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านที่มีอำนาจพยากรณ์มากที่สูงสุดคือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (X3) (β = 0.255) รองลงมาคือ ด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน (X1) (β = 0.242) และด้านความสามารถในการใช้สื่อ (X5) (β = 0.174) ตามลำดับ สามารถร่วมกันพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ได้ร้อยละ 49.90
คำสำคัญ : ปัจจัย การจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กิตติพร ปัญญาภิญโญผล. (2540). รูปแบบของวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กรณีศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (มปป.). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า ตอนอนาคตครูไทย ครูพันธุ์ C. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2561, จาก http://sornorinno.blogspot.com/2010/09/ c-c-teacher.html.
พิชญา ดีมีและเอื้อมพร หลินเจริญ. (2560). การพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรูแล นวัตกรรมของผูเรียนตามแนวคิดการประเมินผูเรียนในศตวรรษที่21. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาบัณฑิตศึกษาศาสตร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ 9119 เทคนิค.
สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2559). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม. วารสารวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อเทตยา แก้วศรีหาและคณะ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. หลักสูตรครุศาสตรสมหาบัณฑิต. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
อศิภรณ์ อินทรมณี. (2547). หลากหลายวิธีสอนคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาที่ช่วยพัฒนาประสิทธิผลการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.47)
อ่องจิต เมธยะประภาส. (2557). E-Teacher. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2561, จากhttps://www.gotoknow. org/posts/589309.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York : Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน