ภาพรวมความพึงพอใจในการกลับมาท่องเที่ยวไทย ภายใต้แคมเปญการเปิดเมืองเปิดประเทศ กรณีนักท่องเที่ยวหลังมาตรการผ่อนคลายโควิด 19 ของนักท่องเที่ยว สิงค์โปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ (SMK)

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา
  • ธัชกร วงษ์คำชัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • จุฬาลักษณ์ โสภากรรฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • พิชิต ภาสบุตร ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
  • พิมุกต์ สมชอบ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว;, การท่องเที่ยวไทย;, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย และแนวโน้มการมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวสิงค์โปร มาเลเซีย เกาหลีใต้ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจต่อการพักผ่อน  ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวสิงค์โปร มาเลเซีย เกาหลีใต้ที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่างกัน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวสิงค์โปร มาเลเซีย เกาหลีใต้ (SMK) ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยในช่วงเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2565 คำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Sampling Random) ประเทศล่ะ 400 ตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ดังนี้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าสถิติค่าเอฟ ผู้วิจัยพบผล ดังนี้ 1) นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้มีความพึงพอใจในการกลับมาท่องเที่ยวไทย ภายใต้แคมเปญการเปิดเมืองเปิดประเทศ กรณีนักท่องเที่ยวหลังมาตรการผ่อนคลายโควิค 19 มากที่สุด            2) จากการรับรู้ของนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ ที่มีต่อสถานการณ์โควิคของประเทศไทยมากที่สุด 3) นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้มีแนวโน้มการมาเยือนครั้งมากที่สุด และ 4) นักท่องเที่ยวชาวสิงค์โปร มาเลเซีย เกาหลีใต้ (SMK) เปรียบเทียบสถานที่ท่องเที่ยวของไทยกับประเทศใกล้เคียงมีความเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวของไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศในอาเซียน อีกด้านหนึ่งของนักท่องเที่ยวสิงค์โปร มาเลเซีย เกาหลีใต้ (SMK) มองว่าสถานที่ท่องเที่ยวของไทยดีกว่าและดีกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศใกล้เคียง

References

กมล เกียรติพงษ์, พัทรียา หลักเพ็ชร. (2022). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีจากมุมมองการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวภาพลักษณ์การ ท่องเที่ยวทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่อำเภอแม่เมาะจังหวัดลำปาง. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 219-241.

จีรเดช เจริญชนม์. (2022). การออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวทะเลบัวแดงบึง หนองหานอำเภอกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 121-130.

ณนนท์ แดงสังวาลย์, ประสพชัย พสุ นนท์, เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2022). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวเชิง อาหารพื้นถิ่นจังหวัดภูเก็ต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 1983-1998.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่า การท่องเที่ยวที่แข่งขันได้ของการบริการประเภทที่พักวิสาหกิจชุมชน โฮมสเตย์เขตภาคกลางตอนล่าง. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14(4), 121-133.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดตะเคียน นนทบุรี ในสถานะการณ์โควิค 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน. 3(2), 33-53.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การจัดการการตลาดและการตลาดดิจิทัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ OTOP นวัตวิถีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดลตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. 4(3), 101-115.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของนักท่องเที่ยวประเภทวางแผนการเดินทางเอง กรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชียน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1), 304-318.

ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์. (2023). การปรับตัวในการจัดงานอีเวนต์เชิงวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาคโควิด-19 กรณีศึกษา: กิจกรรมงานรําลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 17(1), 245-266.

ทัศนีย์นาค เสนีย์, รุจิรา แสงแข, อมรพิมล พิทักษ์. (2022). ผลตอบแทนทางสังคมจากการ ดำเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในการจัดงานวิ่งจอมบึงมาราธอนกรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุขวิถีไทยรามัญ. วารสารลวะศรี, 6(1), 88-105.

ธนภร จรูญนิมมาน. (2023). 11 กลยุทธ์นวัตกรรมบริการและการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(1), 106-118.

ธีระวัฒน์ จันทึก, ปวีณา สปิลเลอร์, ปภาวิน พรช โชติ สุธี, ธงชัย ทองมา. (2022). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์ท่องเที่ยวเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(2), 33-60.

นุชฤดี รุ่ยใหม่. (2022). การสื่อสารภาพลักษณ์: การขยายตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารราชนครินทร์, 19(1), 33-41.

บุญเพ็ญ สิทธิวงษา, อาทิตย์แสงเฉวก, กนกอร บุญมี. (2023). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 49-66.

ประนิทัศ ภูขีด และคณะ. (2022). การรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี: PERCEPTION OF TOURISM IMAGE IN UBON RATCHATHANI PROVINCE. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและ เทคโนโลยีอีสเทิร์น, 19(2).

ปัญญา ดานาดี, ณัฐธพร เซิบรัมย์. (2022). การพัฒนาภาพลักษณ์ ทัวร์ช้างไทยเพื่อความบันเทิงในการท่องเที่ยว. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 419-432.

พงษ์พิพัฒน์ เสน่ห์ดี. (2022). เมืองพัทยา: ความท้าทายด้านการจัดการการท่องเที่ยวภายใต้วิกฤตโควิด 19. วารสารมหาวิทยาลัยพัฒนาเชิงพื้นที่, 1(2), 1-8.

พรณัชชา วุฒิวิริยะ. (2022). การศึกษาแนวโน้มผลกระทบและความท้าทายต่อการท่องเที่ยวไทยในโลกดิจิทัลยุคปกติใหม่.วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 600-612.

พัชราภรณ์ คชินทร์. (2022). การสื่อความหมายในคำขวัญโฆษณาของการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย. มนุษย์สังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 20(1), 83-102

รุ่งพญา คำพญา, อุทัยรัตน์ เมืองแสน. (2022). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการท่องเที่ยวปลายทางที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(3), 59-73.

วลัยลักษณ์ พันธุรี. (2022). รูปแบบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก: Tourism Business Model in the Special Economic Zone of Tak Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมาสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(3), 17-17.

สมชาย กระแจะเจิม, อธิธัช สิรวริศรา, ฐิติมา โห้ลำยอง, สุพัตรา ยอดสุรางค์. (2023). แนวคิดการจัดการการ ท่องเที่ยวเชิงธุรกิจไมซ์ในบริบท-ของพื้นที่อำเภอหัวหิน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(1), 369-378.

Ntapat Worapongpat. (2563). Guideline for Integrated Marketing Strategy Development for the Image-Building of Ecotourism by Ban Pambok Community Thung Yao Sub-District, Pai District, Mae Hong Son Province. Academic Jjournal Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences). 6(2), 93-115.

Ntapat Worapongpat. (2564). Capacity Building on Digital Marketing Management for Sustainable Cultural Tourism in Western Provincial Communities. Journal of Social Communication Innovation College of Social Communication Innovation Srinakharinwirot University. 9(2), 124-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-25