แรงงานทักษะดิจิทัลของพลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับเทคโนโลยีพลิกผันบนชีวิตวิถีถัดไป

แรงงานทักษะดิจิทัลของพลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับเทคโนโลยีพลิกผันบนชีวิตวิถีถัดไป

ผู้แต่ง

  • ฐิติยา เนตรวงษ์

คำสำคัญ:

แรงงานทักษะดิจิทัล, คนศตวรรษที่ 21, เทคโนโลยีพลิกผัน, ชีวิตวิถิถัดไป

บทคัดย่อ

ภาวการณ์ระบาดของโควิด-19 และการถดถอยเศรษฐกิจทั่วโลกทำให้เกิดผลกระทบตลาดแรงงาน
ที่มีแนวโน้มมุ่งสู่แรงงานทักษะดิจิทัลมากขึ้น การเติบโตของงานแห่งทักษะแห่งอนาคต เป็นความต้องการ
ที่เพิ่มขึ้นสำหรับคนที่สามารถเติมเต็มงานด้านเศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจสุขภาพ การระบาดโควิด-19
ทำให้เกิดชีวิตวิถีใหม่ (New normal) และความต้องการกำลังคนด้านดิจิทัลที่สามารถพัฒนาและใช้เทคโนโลยี
หลักที่เปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruptive technologies) กลุ่มคนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ
ของภาคธุรกิจ หลายภาคส่วนจึงตอ้ งจัดเตรียมการเรียนรู้เพื่ออนาคตสำหรับแรงงานอนาคต ต้องบูรณาการ
สังคมที่เชื่อมโยงคนกับวทิ ยาการเข้าด้วยกัน ตลาดแรงงานอนาคตจึงตอ้ งการบุคลากรผู้มีความสามารถแนว
ใหม่ คือ พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะนำไปสู่ยุคอนาคตที่คนมีลักษณะพิเศษรองรับเทคโนโลยีพลิกผันบน
ชีวิตวิถีถัดไป (Next normal) หลังโควิด-19 ธุรกิจไทยมีแนวโน้มการใช้ซอฟต์แวร์ หุ่นยนต์ ระบบ
ปัญญาประดิษฐ์ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น การมีหลักสูตรการสอนที่เหมาะสมต่อการสร้าง
บุคลากรคุณภาพแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานแห่งอนาคตได้อย่างมั่นคง แนวโน้ม
ตลาดแรงงานหลังโควิด-19 ที่แรงงงานทุกวัยจำเป็นต้องปรับความคิด (Mindset) สร้างสรรค์นวัตกรรมใน
การทำงาน และมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นต้องมีรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อการพัฒนาตนเองในทักษะดิจิทัลด้วยระบบนิเวศในการทำงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้พัฒนา
ตนเองอย่างต่อเนื่องผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และ
แรงงาน ตอ้ งปรับตัวเพ่อื ความอยู่รอดในโลกแห่งอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-11 — Updated on 2023-02-05

Versions