การเปรียบเทียบความสัมพันธ์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อราคา หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ
การเปรียบเทียบความสัมพันธ์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อราคา หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อราคา
หลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ ในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย โดยวิธีเจาะจงจากกลุ่ม ทั้งหมด 8 บริษัท โดยทำการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี คือระหว่างปี พ.ศ.
2558 ถึง พ.ศ. 2562 (ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. www.set.or.th สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564)
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ด้วยสมการ
ถดถอยเชิงเส้น พบว่า มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVA) กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังหักภาษีที่มีการ
ปรับปรงุ รายการทางบญั ชี (NOPAT) เงินทุนที่ลงทุนไป (IC) และต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (WACC) มี
ความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดย EVA
สามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์รวมถึง IC สามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้ในทิศทางเดียวกัน โดย IC
สามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์ 23% และ EVA สามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์ 10 % ส่วน NOPAT และ
WACC ไม่สามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสมการถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า
IC สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์มากที่สุด 30% รองลงมาคือ EVA NOPAT และ
WACC สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ 21%, 20%
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-02-05 (2)
- 2022-05-11 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน