ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
บทคัดย่อ
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับความสำเร็จในการบริหารงานด้านต่าง ๆ ส่งผลต่อทัศนคติของครู การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบุคลิกภาพ รองลงมาคือ ด้านอุดมการณ์ และด้านการมีส่วนร่วมของทีมงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ คือ การส่งเสริมความรอบรู้เกี่ยวกับทิศทางในการบริหารสถานศึกษา การจัดอบรมเชิงพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในด้านความรู้และทักษะในการจัดทำกลยุทธ์ของสถานศึกษา การจัดสัมมนาในการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้บริหาร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ ความคิด การสร้างแรงจูงใจในเชิงบวกต่อครู ระบบการให้คำปรึกษาแก่ครู การจัดการความขัดแย้ง การศึกษาดูงาน และการพัฒนาตนเอง
References
กาญจนา ศิลา. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน. สารนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ขำจิตร วุฒิศักดิ์. (2552 ). พฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ของผุ้อำนวยการโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐชญา ปวงคำคง. (2560). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนพื้นที่พิเศษเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (การบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดุษฎี เย็นใจ. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 6 ภาคเหนือตอนบน. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธีรนุช วารีรักษ์. (2563). คุณลักษณ์อันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ. 171-180; มิถุนายน.
บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรนิภา ลิมปพยอม. (2542). ปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซี.ดี. เน็ท แอนด์ มัลติมีเดีย จำกัด.
พัชราณี ฟักทองพรรณ. (2553). แนวโน้มคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนสตรีเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์วลัญช์ นันทัยทวีกุล. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เฟาซี วงค์ภักดี. (2554). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ค้นคว้าอิสระครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
วีระวรรณ พรมทองดี. ( 2556 ). พฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2557). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ด้านคุณธรรม จริยธรรม. กรุงเทพฯ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). แหล่งที่มา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=47194&Key=news20 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ; แผนปฎิบัติการประจำปี 2565 : 10)
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะผู้นำ: ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเชียเพลส (1989) จำกัด.
สำเนา หมื่นแจ่ม. (2555). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
อรวี แสงทอง (2564,หน้า 96. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนเครือสหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการ. 30-102; พฤษภาคม.
ฮาฟิซ ขำนุรักษ์. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน