ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • สุภิชฌาย์ ศิริโรจน์ คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, ผู้บริหารโรงเรียน, ครู

บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน และ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ทั้ง 5 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 297 คน ได้มาโดยสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเป็นผู้นำด้านวิสัยทัศน์ รองลงมาคือ ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล ด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ผู้บริหารยอมรับในนโยบายของระดับท้องถิ่น ระดับชาติและดำเนินการแปลงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ งบประมาณบริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป เพื่อสำหรับนำนโยบายไปปฏิบัติและวางแผนสำหรับผู้ปฏิบัติให้ชัดเจน ด้านการสร้างด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้สู่ยุคดิจิทัล ควรส่งเสริมพัฒนาครู ให้ตระหนักเห็นความสำคัญ และมีทักษะในการสร้างนวัตกรรมนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยผลักดันให้ครูและผู้เรียนคิดค้นนวัตกรรมการบริหารจัดการและนวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พร้อมกับใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าพัฒนาความรู้ของตน รวมทั้งสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา และจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งมีแผนการจัดการที่ชัดเจน ด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ควรมีการติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการให้ครอบคลุมภารกิจของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมาย มีการยกย่องเชิดชูเกียรติครูและผู้เรียนที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี และด้านการเป็นผู้นำมีวิสัยทัศน์ ควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สร้างโอกาสทางสังคม สร้างความเท่าเทียมกันทางสังคมและสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตนักเรียน

References

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดีสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ณัฎฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.

ดวงเดือน ตั้งประเสริฐ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เลอศักดิ์ ตามา. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. อุดรธานี: กลุ่มบริหารงานบุคคล สพป.อุดรธานี ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562) “นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562”. https://www.obec.go.th. 6 สิงหาคม 2562.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2564, จาก

http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-International Society for Technology in Education (ISTE). (2009). National Educational Technology Standard for Administrators. Retrieves May 15, 2019, form https://id.iste.org/docs/pdfs/ 20-14_ISTE_Standards-A_PDF.pdf.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23