ศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี

ศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ สุภากิจ -

คำสำคัญ:

การบริหาร, กิจการนักเรียน, วิทยาลัยอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี  จำนวน 7 สถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.01, S.D. = 0.90) ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานปกครอง รองลงมาคือด้านการบริหารงานครูที่ปรึกษา การบริหารงานกิจกรรม การบริหารงานสวัสดิการ การบริหารงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน ตามลำดับและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการบริหารงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน แนวทางพัฒนาด้านการบริหารงานปกครองควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผน กำหนดแนวทางในการดำเนินงานปกครอง ด้านการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ผู้บริหารและครู ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกภายในสถานศึกษา ด้านการบริหารงานครูที่ปรึกษา ควรจัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานครูที่ปรึกษา  ด้านการบริหารงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการทำกลยุทธ์การบริหารงาน แนะแนวอาชีพและจัดหางานไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ด้านการบริหารงานสวัสดิการ ควรจัดประชุมรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะการบริหารงานด้านสวัสดิการ และการบริหารงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีการประเมินผลเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ในโอกาสต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542. เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/webid/pdf/AAJA_001.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 11 เมษายน 2565).

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). แนวคิดและประสบการณ์บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ

คระกรรมการการอาชีวศึกษา พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. เข้าถึงได้จาก : http://library2.parliament.go.th/giventake/content_law/law 050351-1.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 10 เมษายน 2565).

โฉมฉาย กาสโอสถ. (2562). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2556). หลักการบริหารงานกิจการและกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา. (เอกสารประกอบการสอนรายวิชา) สาขาวิชาบริหารการศึกษา พิษณุโลก : คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ประมวล วิลาจันทร์. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา. (2555). สอศ.เดินหน้าจัดการศึกษาอาชีวศึกษาให้กับประชาชนตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพยึดหลักพัฒนาคนไทยให้เป็นคนยุคใหม่ เข้าถึงได้จาก : http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255302140126&tb=N255302. (วันที่ค้นข้อมูล 10 เมษายน 2565).

เพ็ญศรี ช่อพฤกษา. (2558). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองในเขตการศึกษา 7 . วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาบริหารการศึกษา) สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร.

ศิริชัย โอมฤก. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศิริรักษ์ นาคพงศ์. (2557). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1-2 ในสถานศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาบริหารการศึกษา) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

สง่า พุ่มพวง. (2558). สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่เชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาบริหารการศึกษา) สถาบันราชภัฏเชียงราย.

สมคิด บางโม. (2551). การจัดการองค์การ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์,

สมพิศ โห้งาม. (2559). การจัดการและบริหารงานกิจการนักเรียน (Student Personnel Management and Administration), เข้าถึงได้จาก : http://e-book.ram.edule-book. (วันที่ค้นข้อมูล 10 เมษายน 2565)

สุจริต คุณธนกุลวงค์. (2558), การบริหารโรงเรียน : นวัตกรรมเทคนิค : ประสบการณ์. กรุงเทพ : กรมศาสนา

สุวิทย์ โกศล. (2556). การบริหารงานกิจการนักเรียนนักศึกษาของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ; พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 เข้าถึงได้จาก : http:// library2.parliament.go.th/giventake/content_law/law050351-1.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 11 เมษายน 2565).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. อัดสำเนา.

สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2548). รายงานการวิจัยการสำรวจความต้องการกำลังคนและอุตสาหกรรมในท้องถิ่นเพื่อวางแผนการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17