การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธนิตา ฤาชากุล คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ครู, ผู้บริหาร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียน จำนวน 8 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ผ่านช่องทางอีเมล์. สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย (µ = 3.71, α = 0.38) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา 2. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน วิเคราะห์ นิเทศติดตาม ประเมินผล และพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันเป็นการระดมความคิดจากครูผู้สอน  ควรให้ครูได้มีส่วนร่วมกำหนดแนวทางในการพัฒนาการปรับปรุงการใช้สื่อนวัตกรรม ควรสนับสนุนให้ครูจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างแบบฟอร์มในด้านการวัดและประเมินผลให้มากขึ้น และควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาให้มากขึ้น

References

ณัฐนันท์ เล็กมาก. (2560). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพรัตน์ ชำนาญพืช. (2559). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปาริชาต สุนทร. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รุจิษยา รุ่งเรือง. (2558). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในอำภอเขาชะเมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. งานนิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตนาภรณ์ บำรุงวงศ์. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13 และ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ศุภานันต์ บุญชิต. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครูสำนักงานเขตหลักสี่ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สุนันทา จันทร์ชูกลิ่น. (2565). การบริหารงานวิชาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12 (1), 70-82 .

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2565). แผนปฎิบัติการประจำปี 2565. อุดรธานี: กลุ่มบริหารงานบุคคล สพป.อุดรธานี ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอํานาจสําหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2553). หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hoy, W. K., & Miskel, G. C. (1978). Educational administration: Theory research and practice. New York: Random House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23