ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • สันติภาพ วะชุม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ละมัย ร่มเย็น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร จำนวน 216 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรของการบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 41.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อย พบว่า ตัวแปรย่อยที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานของตัวพยากรณ์ สูงที่สุด คือ ความปลอดภัยและสุขภาพ รองลงมาคือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ยกเว้นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร และค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น สำหรับตัวแปรของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อย พบว่า ตัวแปรย่อยที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานของตัวพยากรณ์สูงที่สุด คือ การพัฒนาองค์กร รองลงมาคือ การฝึกอบรมและพัฒนา และการพัฒนาสายอาชีพ ตามลำดับ

References

กาญจนา มีศรีสม. (2559). อิทธิพลของรูปแบบผู้นำและการพัฒนาบุคลากรที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานในระดับปฏิบัติการ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จินต์จุฑา จันทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรทางการศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ชนิศา หาญสมบุญ และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2556). กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ The Process of Strategic Human Resource Development. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 43.

ฐิติพร มุ่งดี. (2565). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในเขตจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐพล อินธิแสง. (2564). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดกการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 1(1): 41-55.

วิวรรธ์พุทธานุ. (2560). อิทธิพลของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุรินทร์(รายงานการวิจัย). ศรีสะเกษ: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ศูนย์ศรีสะเกษ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศิริพงศ์สมพีรพันธุ์. (2560). กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สมคิด ผลนิล. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมกรณีศึกษา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวันไช พันทะวง. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อาภัสรา ด้วงมูล. (2563). ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิตชั้น 1 ช่วงการระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษาการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนุชาติ ปิยนราวิชญ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

Mondy, R,W. Noe and S.R Premeaux. (1999). Human Resource Management. (7th ed.) New Jersey. Upper Saddle River.

Pun, Kit Fai and Anthony Sydney White. (2005). A Performance Measurement Paradigm for Integrating Strategy

Formulation: A Review of Systems and Frameworks. International Journal of Management Reviews, 7(1), 49-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23

How to Cite

วะชุม ส. ., & ร่มเย็น ล. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(1), 217–232. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1932