ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ธนพัฒน์ มาลัยกรอง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ละมัย ร่มเย็น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง;, วัฒนธรรมองค์การ;, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ; , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 3) ศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร จำนวน 216 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.20) วัฒนธรรมองค์การของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.01) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.90) 2) ตัวแปรของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 49.90 (R2Ad=.499) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อย พบว่า การกระตุ้นทางปัญญา (β=.330) และการสร้างแรงบันดาลใจ (β=.159) ยกเว้นการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 3) ตัวแปรของวัฒนธรรมองค์การสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 47.80 (R2Ad=.478) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อย พบว่า วัฒนธรรมเอกภาพ (β=.458) และวัฒนธรรมส่วนร่วม (β=.190) ยกเว้นวัฒนธรรมปรับตัว และวัฒนธรรมพันธกิจ

References

กรรัตน์ อยู่ประสิทธิ์. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับบรรยากาศส่งเสริมนวัตกรรมของทีมงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร.การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กาญจนาพร พันธ์เทศ. (2560). วัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง. รายงานการวิจัยสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. ปทุมธานี: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร. (2563). สรุปผลการดำเนินงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร ปี 2563. สกลนคร: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร.

เกริกเกียรติ ต่อกิจไพบูลย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงความพึงพอใจในงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คงกฤช วุฒิสุชีวะ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การผ่านการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและการกำกับตนเองของข้าราชการทหาร สังกัดกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน. รายงานการวิจัย. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.

จันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการรับรู้บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในกิจการเสื้อผ้าสำเร็จรูป จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จิราพรรณ สุดลาภา. (2565). วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนตร.

เจตน์สฤษฎิ์ วินัยธรรม และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2564). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชาญณรงค์ เศวตาภรณ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานสถานีตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ รป.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บริษัท เซ็นทรัล เอ็กเพลส จำกัด.ประทุม ฤกษ์กลาง. (2539). ยุทธศาสตร์การสร้างความผูกพันต่อองค์การ. วารสารสำนักบริหาร, 36 (1), 22-26.

ปองใจ ปากเมย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธํ์รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พัชรา วาณิชวคิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา = Leadership Development: Theroies, Best Practices and Case Study. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

มัลลิกา ต้นสอน. (2546). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซ์เบอร์เน็ท จํากัด.

มาลิณี ศรีไมตรี. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การเป็นสมาชิก ที่ดีขององค์การของพนักงานในสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (ภาคการผลิต) เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ บธ.ด. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เรียมใจ คูณสมบัติ. (2554). ภาวะผ้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา อําเภอคลองหลวง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริพร นาคสุวรรณ. (2548). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธเชิงสาเหตุของความสัมพันธตอองคกรของครูโรงเรียนอาชีวเอกชน. วิทยานิพนธ วท.ม. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สรชัย พิศาลบุตร. (2556). การวิจัยทางธุรกิจ = Business research. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์.

สิริอร วิชชาวุธ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

อภิญญา ดีประทีป และคณะ. (2560). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การภายหลังการควบรวมธนาคารจากปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ การสื่อสารในองค์การ และการมอบอำนาจในองค์การ ที่ส่งผ่านความเครียดในบทบาทหน้าที่. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7, 120-135.

อามีนุดดีน จะปะเกีย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากร ในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.). วิทยานิพนธ์ บธ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Avolio. B.J. and Bass. B.M. (1999). Imploring Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. California : Consulting Psychologists Press.

Bass , B.M .(1985). Leadership and performance beyond expectation. New York: Free Press.

Bass, B.M . (1990). From Transactional to Transformational Leadership: Learning to share the vision. Organization Dynamic, 3 : 19-36.

David Parker (2007). Textual Criticism and Theology. England: University of Birmingham.

Denison, Daniel R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York: John Wiley Publisher.

LePine, J. A., A. Erez., and D. E. Johnson. (2002). “The nature and dimensionality of organizational citizenship behavior: A critical review and meta-analysis”. Journal of Applied Psychology. 87 (1), pp. 52–65.

Mowday, R. T., Porter, L. W. & Steers, R. W. (1982). Employee - Organizational Linkage: The Psychology of Commitment Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press.

Organ, D. W. (1988). Organizational Citizenship Behavior: The Goods Soldier Syndrome. Lexington, MA: Lexington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-29