การตำรวจกับการเมือง: ความสัมพันธ์ที่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐวิชฌ์ ราชแก้ว หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สัญญา เคณาภูมิ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ประชัน คะเนวัน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การตำรวจ;, การเมือง;, ความสัมพันธ์กับนักการเมือง

บทคัดย่อ

ตำรวจเป็นข้าราชการประเภทหนึ่งในรัฐ ประชาธิปไตย ตำรวจเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐที่สามารถใช้กำลังบังคับต่อพลเมือง และถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของกระบวนการไปสู่ประชาธิปไตย รัฐไม่อาจเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งได้ หากไม่สามารถคุ้มครองสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ตำรวจกับการเมืองไทยมีความสัมพันธ์กันมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะมีการปกครองในรูปแบบใดก็ตาม อย่างไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ กล่าวคือ ในสมัยการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ภารกิจหลักของตำรวจคืออารักขาและมีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก ส่วนการรักษาความสงบภายในเป็นภารกิจรองลงมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้าควบคุมและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของตำรวจให้เป็นไปในลักษณะตำรวจอาชีพ (Police as a profession) ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับการเมืองนั้น มีลักษณะเด่นชัด คือตำรวจตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมือง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างการตำรวจกับการเมือง สามารถแบ่งออกเป็นเป็นประเด็น ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างการบริหาร 2) ด้านกระบวนการทำงาน และ 3) ด้านการแต่งตั้ง โดยอาศัยอิทธิพลนักการเมือง

References

กระทรวงยุติธรรม. (2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จากdhttps://www.moj.go.th/view/47469

กฤษณพงค์ พูตระกูล. (2560). การป้องกันอาชญากรรมในทศวรรษหน้ากับการพัฒนาระบบงานตำรวจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

กฤษณพงศ์ พูตระกูล. (2562). บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ....ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา (รับฟังความคิดเห็น). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 15, 2566, จากhttps://www.kpi.ac.th/uploads/pdf/9KHaUUkV4TtljJ0QEMZCvbA3bNY9aXPXbneuEOXP.pdf

จิรวรรณ สิทธิศักดิ์ และคณะ. (2564). อิทธิพลทางการเมืองในการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8 (1), (มกราคม-มิถุนายน 2564 )

ไทยรัฐพลัส ออนไลน์. (2565). ปฏิรูปตำรวจ ปราบทุจริต และภารกิจ ‘รวมไทย’ ของ เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://plus.thairath.co.th/topic/spark/102394

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). ร้องยุบพรรคพลังประชารัฐ เสี่ยผับจีน บริจาค 3 ล้านบาท โยงปม 2 สัญชาติกับธุรกิจมืด!. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/2538821

ธียาฌพัตท์ รังสิพราหมณกุล วิจิตรา ศรีสอน และสัณฐาน ชยนนท์. (2565). บทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับเหตุการณ์ทางการเมืองรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557- พ.ศ. 2562. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8 (5), 265-280.

ปรีดา สถาวร. (2558). ตำรวจกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). เอาการเมืองออกจากตำรวจ เลิกให้ นายกฯ นั่งประธาน ก.ตร. ข้อเสนอบันไดขั้นแรกต่อนโยบาย “ปฏิรูปตำรวจ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000038937.

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 64 ก.

พรรคก้าวไกล. (2566). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566. จาก

https://election66.moveforwardparty.org/policy/detail/policy_86

เดอะแมทเตอร์. (2566). รังสิมันต์ โรม กล่าวถึงปัญหาการเลื่อนยศตำรวจ และหลักสูตร กอส. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://thematter.co/brief/205594/205594

วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร. (2566). ตำรวจที่ดีไม่ใช่ลูกน้องที่ดีของนาย ตำรวจที่ดีเกิดขึ้นไม่ได้ในระบบที่ไม่ดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://decode.plus/20210527/#

วรเดช จันทรศร. (2526). การปฏิรูปงานตำรวจไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงได้จาก http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv23n4_02.pdf.

วิกิพีเดีย. (2566). ตำรวจไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำในประเทศไทยและต่างประเทศ. สถาบันพระปกเกล้า. (มกราคม – เมษายน) สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/USER/Downloads/kpi_journal,+13-1-4.pdf.

ส่องหลักสูตร กอส. เส้นทางสู่ตำรวจ เข้าอบรมไม่ง่าย ส่องคนนามสกุลดังแห่เข้าเรียน. (2566). สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/233837.

ศูนย์ทนาความเพื่อสิทธิมนุษยชน. (2560). คสช.กับการแทรกแซงกิจการตำรวจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://tlhr2014.com/archives/5466 .

เอ็มอาร์จี.ออนไลน์. (2554). ทำไม? แต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ จึงไม่พ้นข้อครหา!. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566. จาก https://mgronline.com/crime/detail/9540000016372.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-23