การมีส่วนร่วมของครูในการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • ทัตพงษ์ มีจันที สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของครู, การจัดการศึกษา, แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยงานวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 95 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของครูในการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ 2) แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของครู ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ครูตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลการนำหลักสูตรสถานศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษาให้มากยิ่งขึ้น ครูมีการบูรณาการการทำงานในทิศทางเดียวกันและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม ครูควรมีส่วนร่วมการให้ความเห็นชอบโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดสถานศึกษาจัดขึ้น และครูมีส่วนร่วมในการสะท้อนผลการดําเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดําเนินงานของสถานศึกษา

References

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหัวถนน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารรามคำแหง, 2(1), 97-111.

จารุวรรณ รากเงิน. (2560). การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ศรีสมร สนทา. (2566, มีนาคม 21). ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน. สัมภาษณ์ 21 มีนาคม 2566.

สิทธิชัย อุตทาสา. (2562). ได้ศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 4. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(3), 28-40.

สุภาวดี ใจภักดี. (2563). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2), 18-34.

สุรชัย แสงศิลา. (2566, มีนาคม 21). ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะแบง. สัมภาษณ์ 21 มีนาคม 2566.

สุรภพ นาคนชม (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สําหรับสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 83-96.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2566). แผนปฎิบัติการประจำปี 2566. อุดรธานี: กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3.

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1980). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12

How to Cite

มีจันที ท., & อุสาโห ก. (2024). การมีส่วนร่วมของครูในการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(2), 343–354. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2060