ภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย พะนะสิทธิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, หลักธรรมาภิบาล, ผู้บริหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย (𝑥̅ = 4.15, S.D = .82) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านหลักความเสมอภาค รองลงมา คือ ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักคุณธรรมและจริยธรรม 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาของแต่ละด้าน คือ ควรพัฒนาวิธีการดำเนินงานให้มีความรวดเร็ว ควรสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำไปวิเคราะห์จัดทำแผนกลยุทธ์ใหม่และปรับปรุงกระบวนการทำงานต่อไป ควรมีการจำแนกกลุ่มผู้รับบริการและกำหนดกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้รับบริการ ควรมีการแสดงความโปร่งใสในองค์กรมากขึ้นหรือมีการจัดหาเทคโนโลยีมาใช้ในหน่วยงาน ควรส่งเสริมให้ผู้รับบริการทุกคนเข้าถึงการบริการได้อย่างเท่าเทียม ควรมีความมั่นใจและส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานเพิ่มการมีส่วนรวมในการทำงานช่วยกันแก้ไข้ปัญหาในแต่ละด้านในหน่วยงาน ควรเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้แก่นักเรียนร่วมเป็นคณะทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน และควรมีความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีมากกว่านี้

References

กานต์ โง่นทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสงเปลือย วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ. (สัมภาษณ์ 12 พฤษภาคม 2566).

จุฑากาญจน์ เก่งกสิกิจ. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตธรรมจักร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิปลากร.

ชัยณรงค์ ไชยโย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกใหญ่ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ. (สัมภาษณ์ 12 พฤษภาคม 2566).

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2559). ภาวะผู้นำคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการเรียนรู้สังคมศึกษา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ไดมอนด์ กราฟิก กรุ๊ป.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2561). หลักธรรมาภิบาลจากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทิวากร แก้วมณี. (2559). ธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์.

ธงชัย คล้ายแสง. หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารวิจัยวิชาการ, 2,(2), 187.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ปาลิดา ธนะกุลภาคิน. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ตามการรับรู้ของครูผู้สอน.สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์. 7(2), 139.

เปรมมิกา อ่อนธานี. (2559). แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พระนัฐกิจ ปุญญธารี. (2564). ภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ศึกษา จังหวัดขอนแก่น, วารสารพุทธศึกษาและวิจัย, 7(3), 105-116.

วิไลรัตน์ ฝ่ายดี. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางใน อำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบังลำภู เขต 1. (2565). แผนปฎิบัติการประจำปี 2565. หนองบัวลำภูกลุ่มนโยบายและแผนฯ. สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2565.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:

ส.เจริญการพิมพ์.

อภิญญา นนทโคตร. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร, 4(16), 206.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11

How to Cite

พะนะสิทธิ์ ณ., & อุสาโห ก. (2024). ภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(2), 399–410. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2061