การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนพังงูวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 5 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วิชชุกร ทิพเสถียร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนพังงูวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 5 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 53 คน ได้มาโดยเลือกเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ     มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมา คือ ด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติอย่างมืออาชีพ และด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ด้านรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ได้แก่ ผู้บริหารต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำข้อมูลไปใช้ และการจัดทำระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ มีการสร้างระบบฐานข้อมูลของสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้อง ควรสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีการเปิดให้ชุมชนสามารถเข้าถึงได้ และจัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เอื้ออำนวยและมีการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ควรเป็นผู้นำดิจิทัลในสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนมีทั้งความรู้เทคโนโลยีการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การหาโอกาสและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ต้องมั่นใจว่าครูและบุคลากรเป็นบุคคลที่พร้อมจะเรียนรู้ และควรอำนวยความสะดวกในการพัฒนาวัฒนธรรมการทำความเข้าใจร่วมกัน และความเกี่ยวพันของประเด็นสากลผ่านการใช้เครื่องมือสื่อสาร

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐาน ราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์.

ขวัญจิตต์ เนียมเกตุ. (2552). ภาวะผู้นำทางวชิาการของผู้บริหารขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฎฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ,15(2), 50-64.

ทรงสรรค์ รูปสม. (2566, พฤษภาคม 10). ผู้อำนวยการ วิทยฐานะผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนกู่แก้ววิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี, สัมภาษณ์.

นคร จงอนุรักษ์. (2564). การบริหารงานวิชาการในภาพรวมของโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(2), 50-68.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. สืบค้น พฤศจิกายน 9, 2563, จาก https://today.line.me/th/pc/article/Leadership+in+Digital+Era.

มณีรัตน์ สุดเต้. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่ง แก้วแดง. (2550). ประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

วิทยา บุราณ. (2566). ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี, สัมภาษณ์.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 353 -360.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: 2560-2564.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมนา ศรีกงพาน. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด ระยอง จันทบุรี และตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. (2566). แผนปฎิบัติการดิจิทัล 2563-2566: กลุ่มแผนงานและนโยบาย.

อัครพล บริกุล. (2566). ตำแหน่งผู้อำนวยการ วิทยฐานะผู้อำนวยการ, (สัมภาษณ์ 10 พฤษภาคม 2566).

อำภา บุญช่วย. (2553). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.

Bryson, J. M. (2016). Strategic planning for public and nonprofit organizations: A practical guide for leaders and decision-makers. Jossey-Bass.

Buckingham, D. (2000). Media education: Literacy, learning and contemporary culture. Routledge.

Beauchamp, T. L., & Bowie, N. E. (2015). Ethical theory and business (9th ed.). Prentice Hall.

Blake, R. R., & Mouton, J. S. (1964). The managerial grid. University of Texas Press.

Beckhard, R. (2009). Organization development: Strategies and concepts (4th ed.). Pearson Prentice Hall.

Crick, R. (2005). What is citizenship education? In Citizenship education for the future: Essays on civic competence in a globalised era (pp. 1-23). Palgrave Macmillan.

Chadwick, G. (2004). The ethics of information and communication technology. John Wiley & Sons.

Deci, E. L., & Ryan, R. M. (2011). Intrinsic motivation and self-determination. In H. Heckhausen & J. Voelkel (Eds.), Handbook of motivation and self-regulation (pp. 1-32). Cambridge University Press.

Garrison, D. R., & Vaughan, J. (2004). Blended learning in higher education: Fostering student engagement, flexible learning opportunities, and personalized learning. Jossey-Bass.

Guskey, T. R. (2015). Professional development in education: Evidence-based strategies for improving learning and teaching. Jossey-Bass.

Kotter, J. P. (2018). What leaders really do: The six habits of highly effective leaders. Harvard Business Review Press.

McEwan, E. K. (1998). Seven steps to effective instruction leadership. CA: Macmillan

Ministry of Education. (2007). Culture, Sports, Science and Technology. The Lifelong Learning Policy. Available: http:// www.mext.go.jp. On line September 9.

Siemens, G. (2004). Knowing knowledge in the age of the internet: Towards a new hermeneutics. Knowledge Management, Organization and Learning, 1(1), 37-57.

Stufflebeam, D. L., Shinkfield, M. L., & McKim, K. M. (2006). Evaluation theory, models, and methods. Sage Publications.

Yukl, G. (2013). Leadership in organizations (8th ed.). Prentice Hall.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Harvard University Press.

Weber, J. (1989). Leading the instructional program. In S. Smith. & P. Piele (Eds.), School leadership. (pp. 253-278). Clearinghouse of Educational Management. Eugene, Oregon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11

How to Cite

ทิพเสถียร ว. ., & อุสาโห ก. (2024). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนพังงูวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 5 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(2), 511–524. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2069