ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, ประสิทธิผลการดำเนินงาน, อำนาจหน้าที่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการและประสิทธิผลการดำเนินงานตาม
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู 2)
เปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง
กฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มี
ผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภูกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผู้วิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง
กฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา และ
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อาชีพ และประสบการณ์การมาขอรับบริการ 3) ตัวแปร
คุณภาพการให้บริการสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน
อัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ร้อยละ 82.90 อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยสูงที่สุด ได้แก่ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ รองลงมาคือ การรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ความเป็นรูปธรรมของบริการ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การให้ความมั่นใจ
แก่ผู้รับบริการ ตามลำดับ.
References
ชนาภา ประชากรธัญญกิจ. (2557). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในศาลแพ่งธนบุรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ณัฏฐ์ปาลิกา กณิศาเตชสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการของสำนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่ (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(สานักงาน ก.พ.ร.).
วรรธนะ เสถียร. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริญา เมืองโคตร. (2565). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อถือไว้วางใจสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิริรักษ์ภูหิรัญ. (2563). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุวัตถิ์ไกรสกุล และจุฑาภรณ์คงรักษ์กวิน. (2559). คุณภาพการให้บริการความช่วยเหลือทางกฎหมายของสำนักคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2557). ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2560). ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนต่อการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:สำนักงานอัยการสูงสุด.
สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู. (2563). รายงานประจำปี 2563. หนองบัวลำภู: สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู.
Mishra, A. K. (1996). Organizational responses to crisis : the centrality of trust. In R. M. Kramer and T. R. tyler (eds.), Trust in organizations : Frontiers of theory and research, pp. 261-287. Thounsand Oaks, CA: Sage.
Parasuraman and et. Al. (1990). Delivering Service Quality: Planning customer Perceptions and Expectation. New York: Fress.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน