ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครองสังกัดระทรวงมหาดไทย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากร กรมการปกครอง
สังกัดกระทรวงมหาดไทย และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัด
กระทรวงมหาดไทย 2) ศึกษาปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย 3) หาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปลัดอำเภอ สังกัด
กระทรวงมหาดไทย จำนวน 310 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของยามาเน่
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านทักษะดิจิทัล
ที่จำเป็นของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากรกรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครองสังกัดกระทรวงมหาดไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์= .4234)แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน มีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเน้นการเรียนรู้จากการทำงานจริง การสลับหมุนเวียนกันทำงานโดยกำหนดแนวทาง วางแผนกำกับ ติดตาม ดูแล อย่างต่อเนื่อง ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล มีการการติดตั้งอุปกรณ์การใชงานบริเวณที่ตั้งขององค์การ โดยเฉพาะการใชเครื่องมือสื่อสารที่เป็นโทรศัพท์มือถือซึ่งมีการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) ผ่านสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) เพื่อรองรับกับบุคลากรและการติดด่อสื่อสารระหว่างบุคลากรด้วยกันหรือการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก เป็นระบวนการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์การใช้งานและการแบ่งปันพื้นที่การทำงานออนไลน์การใช้งานโปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ การใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เรียนรู้การทำงานโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่ Video conference, E–mail, Messaging และเครื่องมือเทคโนโลยีในการแชร์ข้อมูล เพื่อที่จะให้สามารถทำงานร่วมกันได้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมการปกครอง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564. [ออนไลน์]. สืบค้น 3 มกราคม 2565. จาก https://www.dopa.go.th/info_organ/about1.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). สถิติจำนวนข้าราชการ. ส่วนประเมินและทะเบียนประวัติ กองการเจ้าหน้าที่. [ออนไลน์]. สืบค้น 3 มกราคม 2565. จาก https://multi.dopa.go.th/dopaperson/official_letter/
กมลภู สันทะจักร์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 17(1). ม.ค.-มิ.ย. 2562.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
จุฑามาศ นิ่มจิตต์. (2564). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 9(3). กันยายน-ธันวาคม 2564.
ณิศรานันท์ ขันทอง และสุชาดา บุบผา. (2564). ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสาหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2563-2565. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013/ว6 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561. เรื่อง ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://www.ocsc.go.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2565.
หนังสือประการกรมการปกครอง ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง การขึ้นบัญชีและยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ (ปลัดอำเภอ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.
อาคม วะเนจร. (2562). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคณะกรรมการ 2 สำนักงานอัยการสูงสุด. ปริญญา รป.ม., กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน