ผู้นำท้องถิ่นกับการสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • กานต์ศุภณัฐ์ สุวรรณนิคม หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • หฤทัย ปัญญาวุฒิตระกูล สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กานต์ บุญศิริ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ผู้นำท้องถิ่น, การสื่อสาร, วิสัยทัศน์ทางการเมือง

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการสื่อสารการเมืองได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในยุคที่การสื่อสารสามารถไปถึงกันโดยง่าย การเลือกที่จะสื่อสารอะไรออกไปก็ยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับการเมืองในระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญกับประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะมีความใกล้ชิดกับประชาชน รวมถึงการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุดในการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างการตัดสินใจเลือกผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นที่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการสื่อสาร มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาหรือช่วยเหลือประชาชน รู้ว่าควรนำเสนออะไร และรู้ว่าประชาชนในท้องถิ่นของตนต้องการอะไรมากที่สุด ผู้นำนั้นก็จะสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของประชาชนได้ไม่ยาก ดังนั้นการสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น เพื่อที่จะแสดงภาพหรือเป้าหมายว่าจะแก้ปัญหาและพัฒนาให้ท้องถิ่นเป็นอย่างไรในอนาคต สามารถสื่อถึงวิธีการที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย จะนำไปสู่การโน้มน้าวจิตใจให้ประชาชนหันมาเลือกตนเองเข้าสู่ตำแหน่งได้ บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับความสำคัญ หน้าที่ และองค์ประกอบของการสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่น โดยจากการศึกษาข้อมูลสามารถสรุปได้ว่าผู้ส่งสารหรือผู้นำท้องถิ่น ต้องมีการสื่อสารไปยังผู้รับสารหรือประชาชน ไม่ว่าจะภาษาพูด ภาษาเขียน หรือการใช้สัญลักษณ์ ใช้การแสดงออกที่มีความน่าเชื่อถือ ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีทัศนคติที่ดี เพื่อที่จะส่งเนื้อหาสารที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งตัวผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับยุคสมัย และเข้าถึงได้โดยง่าย เหมาะสมกับผู้รับสารหรือประชาชนในท้องถิ่นเอง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (มปป.). ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (VISION). สืบค้น 10 มิถุนายน 2566 จาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/32f2018090611381924.doc.

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). คู่มือมิติใหม่องค์การปกครองท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน. กรุงเทพฯ: เสนาธรรม.

จิราภรณ์ เกษวิริยการณ์. (2556). แนวทางพัฒนาการสร้างวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. กำแพงเพชร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ธัญญา ใยทอง. (2548). กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นนทิพร สาน้อย. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทาน คงฤทธิศึกษากร. (2535). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2546). ความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2550). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). การสื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง.

Almond, G.A. & Powell, G.B. (1978). Comparative Position Communication. Boston: Little Brown.

Smith, C. E. (1994). The Merlin Factor: Leadership and Strategic Intent. Business Strategy Review, 5(1), 67-84.

Kotter, J.P. (1996). Leading Change. Boston: Harvard Business School.

McNair, B. (2003). An Introduction to Political Communication. London: Routledge.

Rush, M. & Athoff, P. (1971). Introduction to Political Sociology. London: Western Printing Service Press.

Ranney, A. (1993). Governing: An introduction to political science. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall International.

Denton, R.E. & Woodward, G.C. (1990). Political communication in America. (2nd ed.). New York: Praeger.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11

How to Cite

สุวรรณนิคม ก., ปัญญาวุฒิตระกูล ห., & บุญศิริ ก. (2024). ผู้นำท้องถิ่นกับการสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการเมือง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(2), 483–494. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2163