ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่อำเภอวานรนิวาส จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านผู้นำแบบเผด็จการ (β =.100) มีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .079) รองลงมา คือ ด้านผู้นำแบบตามสบาย (β = .079) และด้านผู้นำแบบประชาธิปไตย (β = .060) มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .310 4) การมีส่วนร่วมของประชาชนมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ มีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .172) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (β = .145) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (β = .133) และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (β = .097) ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .282
References
นิรันดร์วลี กองเผือก. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของกำนันผู้ใหญ่บ้านในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2557). กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน:บทบาทและภาวะความเป็นผู้นำกับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อผู้นำชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่.การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 Rethink: Social Development for Sustainability in ASEAN Community” 11-13 มิถุนายน 2557.
ประจักษ์ ผิวงาม. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสตรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาลัย อุบลราชธานี.
ปภินวิช ศรีกุล. (2563). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานี วิชาการ ครั้งที่ 5 การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง Research to Make A CHANGE.
วาสนา วภักดิ์เพชร. (2562). อิทธิพลของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจถ่ายโอนของเทศบาลตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศุภิสรา ธารประเสริฐ. (2563). ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักทะเบียนอำเภอวานรนิวาส. (2564) ข้อมูลประชากร. ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564.
อิศรา เรืองเดช. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. ปริญญา กศ.ม. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Halpin, A.W. (2006). Theory and research in administration. New York: Macmillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน