การนำหลักนิติรัฐมาใช้ในคำวินิจฉัยของศาลปกครอง

ผู้แต่ง

  • ยุทธพงษ์ รัตนจันทร์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศาสดา วิริยานุพงศ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุคนธา ศรีภิรมย์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

หลักนิติรัฐ, ศาลปกครอง, แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้ใช้วิธีศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเอกสารโดยรวม (Documentary study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎี ความเป็นมา สถานะและพัฒนาการของหลักนิติรัฐในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและในประเทศไทย 2) ศึกษาการนำหลักนิติรัฐมาใช้ในคำวินิจฉัยของศาลปกครอง 3) ศึกษาแนวคำวินิจฉัย คำพิพากษาและคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดของไทย และ4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไขหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทางปกครอง ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวความคิดทางกฎหมายและการปกครองมีมาตั้งแต่ยุคสมัยของกรีกโรมันโบราณ อันเป็นรากฐานที่สำคัญให้ถือกำเนิดหลักนิติรัฐขึ้น แนวคิดสำคัญของหลักนิติรัฐ เพื่อจำกัดอำนาจของรัฐหรือผู้ปกครองให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจในการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และเป็นที่ยอมรับกันว่าในฝรั่งเศส “สภาแห่งรัฐ” เป็นสถาบันที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและถือว่าสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นต้นแบบของศาลปกครองของไทย 2) ศาลปกครองสูงสุดได้มีการนำหลักนิติรัฐมาประกอบการพิจารณาเพื่อพิพากษาคดีและอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง การกระทำทางปกครองของรัฐ ทุกประเภทจะต้องอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐและหลักความชอบด้วยกฎหมาย ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” โดยในปัจจุบันหลักนิติรัฐมีองค์ประกอบสำคัญสองส่วน คือ องค์ประกอบในทางรูปแบบ ผูกพันตนไว้กับกฎหมาย และองค์ประกอบในทางเนื้อหา เพื่อกำกับการใช้อำนาจของรัฐให้เกิดความเป็นธรรม นิติรัฐจึงเป็นยุติธรรมรัฐ 3) จากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดพบประเด็นปัญหาสำคัญในเรื่องความไม่แน่นอนและความไม่ชัดเจนของกฎหมายที่มีอยู่ ในบางกรณีศาลปกครองสูงสุดจึงไม่สามารถนำหลักกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนั้นมาพิจารณาวินิจฉัยคดีได้โดยตรง จึงต้องนำหลักกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาเทียบเคียง และ 4) แนวทางในการส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาและรองรับกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง อาทิ การส่งเสริมสถาบันและพัฒนาหลักสูตร สร้างองค์ความรู้ สร้างผู้เชี่ยวชาญ ส่งเสริมการเรียนรู้และเผยแพร่ผลิตผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง และการปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้ชัดเจน แน่นอนและทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันน่าจะเป็นประโยชน์แก่การธำรงไว้ซึ่งหลักประกันสำคัญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งศาลปกครองของไทย ได้มีการชั่งน้ำหนักเพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับความเสียหายของเอกชนขึ้นพิจารณาเสมอ

References

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานติ์. (2541). หลักนิติธรรม (Rule of Law) รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิญญูชน.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2564). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ศาสดา วิริยานุพงศ์. (2553). การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส. วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 3 (5), 102.

สุนทร มณีสวัสดิ์. (2563). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). บทที่ 4. นนทบุรี. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เสถียร เศรษฐสิทธิ์. (2559). หลักนิติธรรมกับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11