การถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐชนัญ เสริมศรี หลักสูตรคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ทรงรัฏต์ ชอุ่มดวง หลักสูตรคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ, การตลาดดิจิทัล, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การพัฒนาการถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลได้สอบถามความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งหมด 195 คน โดยได้นำองค์ประกอบของความต้องการมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลมาพัฒนาเป็นเนื้อหาการเรียนรู้ภายใต้การถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลตามแนวทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 7 ขั้นตอน ในรูปแบบบทเรียนออนไลน์ และได้นำไปให้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองเรียนจำนวน 79 คน พร้อมกับศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการตลาดดิจิทัลหลังเรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ความต้องการมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเข้าถึงลูกค้า 2) การสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีความน่าสนใจ 3) การวิเคราะห์และเลือกกลุ่มผู้ซื้อเฉพาะเจาะจง และ 4) การนำเสนอรายละเอียดความเป็นเจ้าของ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลตามแนวทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 7 ขั้นตอน ในรูปแบบบทเรียนออนไลน์ ได้ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลสัมฤทธิ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลหลังเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีด้านการตลาดดิจิทัลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (70%) เท่ากับร้อยละ 82.15 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.56 ค่าความต่าง (t) เท่ากับ 11.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ .05

References

จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2562). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลการดำ เนินงานทางการตลาดหลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจบริการในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 41(159), 1-32.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2558). การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research). อุบลราชธานี: บริษัทยงสวัสดิ์อินเตอร์ กรุ๊ป.

ธัญญ์รวี ธรศิริปุณโรจน์, กฤษฎา ตันเปาว์, และกัญญามน กาญจนาทวีกูล. (2562). กลยุทธ์การตลาดสู่ความสำเร็จ ของการประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์สปาผ่านช่องทางดิจิทัลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 72-84.

บุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม: ภาพรวมและกรอบแนวความคิด. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1), 173-197.

ปราโมทย์ ยอดแก้ว. (2564). การตลาดดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ในสังคมไทย. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 3(1), 11-22.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2556). การบริหารเทคโยโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พิริยาพร สุวรรณไตรย์ และชัยวิวัฒน์ วงศ์สวัสดิ์. (2564). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภค: กรณีศึกษา บ้านผาสุก ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(2), 213-222.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ. (2563). เอกสารความรู้ เรื่องการจัดการความรู้. จาก http://www.dla.go.th/work/km/home/kmstory/kmstory4.htm.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2557). ผลการสำรวจ Internet User Profile ปี 2557. จาก https://www.etda.or.th/th/Our-Service/Standard-(1)/Certifications-(1)/Example-1/Electronic-certificate.aspx.

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้างระบบ E-learning Moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อนันตพร พุทธัสสะ. (2563). การพัฒนากลยุทธการส่งเสริมการตลาดดิจิทัล เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ของกลุ่มวิสาหกิจชมุชนในจังหวัดกาฬสินธ์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, (2), 12-21.

Chaffey, D. (2013). Definitions of E-marketing vs Internet vs Digital marketing, Smart InsightBlog, Retrieved February 16, 2020 from https://www.smartinsights.com/digital-marketing-trategy/online-marketing-mix/definitions-of-emarketing-vs-internet-vs-digital-marketing.

Garrison, D. R. (2017). E-Learning in the 21st Century: A Community of Inquiry Framework for Research and Practice (3rd ed). London: Routledge/Taylor and Francis.

Kaur, G. (2017). The Importance of digital marketing in tourism industry. International Journal of Research-Granthaalayah, 5(6), 72-77.

Pei, L., & Wu, H. (2019). Does online learning work better than offline learning in undergraduate medical education? A systematic review and meta-analysis. Medical Education Online, 24(1), 666538. doi: 10.1080/10872981.

Portillo, E., Look, K., Mott, D., Breslow, R., Kieser, M., & Gallimore, C. (2020). Intentional Application of the Taba Curriculum Model to Develop a Rural Pharmacy Practice Course. INNOVATIONS in pharmacy, 11(1), 1-7. doi:10.24926/iip.v11i1.2089.

Winter, S. G. (2002). Understanding dynamic capabilities. Strategic Management Journal, 24(10), 991-995.

Yesilyurt, M., Dogan, M., & Acar llhan, S. (2019). The Meta-Analysis of the Effect of Computer Aided Instruction on Student Attitudes in Science and Mathematics. Journal of Primary Education, 1(2), 57-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24