บทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ อินทนนท์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • สำราญ วิเศษ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คงฤทธิ์ กุลวงษ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, เทศบาลเมืองนครพนม, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 394 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่า t-test และค่า F-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความโปร่งใส ตามลำดับ  2) การเปรียบเทียบบทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล พบว่า ประชาชนที่มี อายุ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มี เพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

References

คนอง โสดา. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิราภรณ์ สีไพร และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ตำบลศาลาลาย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(5), 125-160.

ฐิติรัฐ เพชรดี (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 26(1), 101-112.

ณัฐวุฒิ บุญช่วย (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 37(2), 151-163.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2565). ธรรมาภิบาล: กลไกสำคัญในการปฏิรูปเพื่อพัฒนาประเทศ (ออนไลน์). สืบค้น 1 ตุลาคม 2565. จาก https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/667

นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ปารวีย์ ทิพมนต์ และศิริภาพร พ่อสาร. (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองนครพนมจังหวัดนครพนม. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.

พิชัยรัฐ หมื่นด้วง และนัสพงษ์ กลิ่นจําปา. (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต, 6(9), 425-438.

พันธุ์ศักดิ์ ไทยสิทธิ. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เทศบาลเมืองอโยธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.พับลิเคชั่น.

พิรชัช พรมดี, ชาติชัย อุดมกิจมงคล และสามารถ อัยกร. (2566). อิทธิพลของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดํารงธรรมอําเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดกามมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(3), 14-32.

“พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546”, (9 ตุลาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 1 - 16.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับกฤษฎีกา 134, 40ก(6 เมษายน): 74-75.

“ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 63 ง (10 สิงหาคม 2542) : หน้า 24 - 25.

วรลักษณ์ วรรณกูล. (2559). การบริหารจัดการตามหลกัธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วัลภา ไชยทิพย์. (2566). แนวคิดทฤษฎีบทบาท (ออนไลน์), สืบค้น 10 มีนาคม 2566. จาก https://www.gotoknow.org/posts/620167.

สารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ. (2564). ข้อมูลประชากรกลาง. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครพนม.

สุมนา ยิ้มช้อย, ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ และพิสิษฐ์ จอมบุญเรือง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตามการรับรู้ของประชาชน. การประชุมสัมมนาวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1.

Adebayo, A., & Ajayi, O. O. (2021). Local Government and Public Service Delivery in Developing Countries: A Review of the Literature. International Journal of Public Administration, 44(17), 1429-1443.

Arifin, M., & Indriati, E. (2020). The Impact of Decentralization on Local Government Performance: Evidence from Indonesia. Public Administration and Development, 40(2), 155-167.

De Guzman, M. G. P., & Guanzon, M. R. M. (2022). Factors Influencing Local Government Performance in the Philippines: A Structural Equation Modeling Approach. Public Policy and Administration, 17(2), 205-226.

Ihsan, M. N., & Indriati, E. (2022). The Role of Local Government in Disaster Risk Management: A Case Study of the 2018 Lombok Earthquake. International Journal of Disaster Resilience in the Built Environment, 13(2), 242-257.

Sari, D. M., Indriati, E., & Arifin, M. (2023). Determinants of Local Government Performance in Indonesia: Evidence from a Survey of Local Officials. International Journal of Public Administration, 46(1), 1-13.

Sari, D. M., & Indriati, E. (2020). The Role of Local Government in Promoting Sustainable Development: A Case Study of the City of Bandung, Indonesia. Sustainability, 12(14), 5719.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11

How to Cite

อินทนนท์ ว., วิเศษ ส., & กุลวงษ์ ค. (2024). บทบาทของเทศบาลเมืองนครพนมในการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(2), 657–672. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2745