การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • ปวีรัตน์ ถาริวร หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ชวนคิด มะเสนะ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สภาพการจัดการเรียนการสอน, ครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ไม่ตรงวิชาเอก 2) เปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก จำแนกตามสภาพการสอน ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 จำนวน 336 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับ จำนวน 52 ข้อ ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก จำแนกตามสภาพการสอน ประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ข้อเสนอแนะมีดังนี้ 3.1) ด้านหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ควรประชุม ติดตาม และตรวจสอบการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง 3.2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ควรสร้างขวัญกำลังใจ ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเอง 3.3) ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ควรสนับสนุนงบประมาณจัดห้องเรียนและบรรยากาศแวดล้อม 3.4) ด้านการวัดและประเมินผล ควรมีคู่มือเพื่อเป็นแนวทางให้ครูได้ศึกษาทำความเข้าใจ และนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงาน

References

โกสินทร์ ทินนญาโณ (ชินสุข), พระ. (2556). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวิโรจน์ผดุงศาสน์วัดมิ่งเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหามกุฏราชวิทยาลัย.

จีระพันธุ์ พลูพัฒน์. (2552). การศึกษาหลักสูตรประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จำเนียร ศิลปะวานิช. (2553). หลักและวิธีการสอน. กรุงเทพฯ: เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.

เชาว์ อินใย. (2543). การดำเนินงานและปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนพงศ์ ดีเลิศ. (2564). ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

นารินทร์ มานะการ. (2560). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นงค์ณภัส ปาแก้ว. (2557). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของครูประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาลาส์น.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). ชุดฝึกอบรมครู ประมวลสาระหลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

ปริยัติธรรมากร ฐานวโร (ทิพมาลา). (2558). สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูสอนบาลี ในสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปรียาพร วงษ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา และทิพยรัตน์ สีเพชรเหลือง. (2543). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. รายงานวิจัยเอกสาร. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.

รชากานต์ เคนชมภู. (2558). ผลกระทบจากครูผู้สอนสอนไม่ตรงวิชาเอกต่อผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณีศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ลักขณา ไชยฤทธิ์. (2561). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธบริหารการศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วราภรณ์ ศุนาลัย. (2535). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: สหมิตรการพิมพ์.

วนิดา ประคัลภ์กุล. (2558). แนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2551). การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

วาณี คมขำ. (2555). การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการใช้หลักสูตรภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2556). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สงัด ชะนะชัย. (2558). การพัฒนาคุณภาพการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สงัด อุทรานันท์. (2557). การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด สร้อยน้ำ. (2552). หลักการสอน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุพัตรา คำโพธิ์. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพิน บุญชูวงศ์. (2538). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษา สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2551). หลักการและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ได้ผล: Paper presented at the โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ"พัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ประจำปี 2551. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อุษณีย์ ภารการ. (2559). การศึกษาการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่ครูไม่ครบชั้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ. (2549). ก้าวเข้าสู่ลู่การเลื่อนวิทยฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1379 – 1395.

Hollins, E. (2011). Teacher Preparation for Quality Teaching. Journal of Teacher Education, 62(4), 395-407.

Hough, J. B., & Duncan, J. K. (1970). Teaching: Description & analysis. New York: Addison – Wesley Publishing.

Lewis, A. J. & A. (1972). Supervision for Improved Instruction. New York: McGraw-Hill.

Saraceno, J. B. (2002). The role of teachers in the redesign of a large comprehensive high school A case study. Dissertation Degree of Doctor of Education, Fordham University.

Sharp, C. E. (2008). Small School Leadership: A Q Method Study of Elements of Leadership Specific to a Small School Setting. Dissertation Degree of Philosophy in Leadership & Change Program, Antioch University.

Sanford, N. (1970). The implication of persionality studies for curriculum and personal planning. Personality Factors on the College Campes, The University of Texas.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

How to Cite

ถาริวร ป., มะเสนะ ช., & ตั้งวันเจริญ เ. (2024). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(4), 1325–1339. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2984