ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจก่อหนี้ของกลุ่มประชาชนฐานราก

ผู้แต่ง

  • ณัฐรุจา หมื่นสวัสดิ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) ภาคพิเศษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปรัชญา งามจันทร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) ภาคพิเศษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ประชาชนกลุ่มฐานราก, การก่อหนี้, ความรู้ทางการเงิน

บทคัดย่อ

ประชาชนกลุ่มฐานราก มีลักษณะโดยทั่วไป คือ รายได้น้อย การศึกษาไม่สูง และอยู่ในชนบท ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนกลุ่มนี้มักประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางการเงินจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินและวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยความรอบรู้ทางการเงิน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถาบันการเงิน ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการก่อหนี้ของกลุ่มประชาชนฐานราก โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนฐานราก จำนวน 313 ราย พบว่า ตัวแปรด้านผลิตภัณฑ์มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลเชิงบวกต่อการก่อหนี้ของกลุ่มประชาชนฐานรากกับสถาบันการเงิน และตัวแปรด้านบุคลากรมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลเชิงลบต่อการก่อหนี้ของกลุ่มประชาชนฐานราก และตัวแปรความรอบรู้ทางการเงิน ตัวแปรด้านราคา ตัวแปรด้านช่องทางจำหน่าย ตัวแปรด้านการส่งเสริมการขาย ตัวแปรด้านหลักฐานทางกายภาพ ตัวแปรด้านกระบวนการ และตัวแปรด้านความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถาบันการเงิน ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจก่อหนี้ของกลุ่มประชาชนฐานราก

References

ชาญวิทย์ บูรณะสันติกุล และ ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษาบริษัท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน). หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม. (2557). การติดตามหนี้สินและการดำเนินคดีของสหกรณ์. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.savings.chula.ac.th/sav/wp-Power-Point.pdf.

ปาริฉัตร ถนอมวงษ์ (2561). ความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการและคุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลต่อการพัฒนาธุรกิจเงินฝาก ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (ภาค3). หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

ปิยพร พันธุ์ผล. (2559). ความสำคัญของการเงิน. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.gotoknow.org/posts/599745.

มณทิรา น้อยจีน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Krungthai NEXT ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครปฐม. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

รุ่งฤดี บุญศรี และอัศวิณ ปสุธรรม. (2563). สาเหตุการเกิดหนี้นอกระบบของกลุ่มคนฐานราก (กรณีศึกษา: หนี้นอกระบบธนาคารออมสินสาขาสงขลา). หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วิกรานต์ เผือกมงคล. (2560). ความรู้ทางการเงินของประชาชน จังหวัดปทุมธานี. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2563). การเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนฐานราก. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2020/10/GR_hotissue_FI_Grassroot _09_63_inter_info.pdf

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2020). ภาวะหนี้สินของครัวเรือนฐานรากในประเทศไทย. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.gsbresearch.or.th/published-works/grassroots-economic-research/8171/

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2566). รายงานภาวะเศรษฐกิจฐานราก. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.gsbresearch.or.th/published-works/economic-and-business-research/12569/

สมคิด ยาเคน และ พรรณเพ็ญ หอมบุญมา. (2559). ปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากรในเขตเมืองและเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 160-171.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน พ.ศ.2566. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/qC.

หอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2564). กลุ่มคนฐานรากกับปัญหาทางการเงิน. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.sasinconsulting.com.

อุทัยวรรณ ของสิริวัฒนกุล. (2563). การเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนฐานราก. ผลงานเผยแพร่วิจัย เศรษฐกิจฐานราก.

Cochran, W. G. 1963. Sampling Techniques, 2nd Ed., New York: John Wiley and Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11