การเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาบนพื้นที่เสมือนจริง

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ เจริญรัตน์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเคลื่อนไหวทางการเมือง, นักศึกษา, พื้นที่เสมือนจริง

บทคัดย่อ

ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งทางด้านพัฒนาการ กระบวนการสร้างเครือข่ายทางสังคมของนักศึกษา รวมถึงยุทธวิธีรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาบนพื้นที่เสมือนจริง เนื่องจากขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาส่งผลต่อพัฒนาการทางประชาธิปไตยของไทยอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาอุดมการณ์ทางการเมือง การเคลื่อนไหวของนักศึกษาตั้งแต่ยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษากระบวนการการสร้างพื้นที่เสมือนจริงในการเคลื่อนทางการเมืองของนักศึกษา วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก้ กลุ่มสมัชชานักศึกษาอีสาน กลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และกลุ่มแนวร่วมนิสิต มมส. เพื่อประชาธิปไตย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง. เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาที่สำคัญ พบว่า 1) อุดมการณ์ทางการเมืองการเคลื่อนไหวของนักศึกษาให้ความสนใจการเมืองเชิงโครงสร้างและปัญหาประชาธิปไตย 2) กระบวนการการสร้างพื้นที่เสมือนจริงในการเคลื่อนทางการเมืองของนักศึกษา มีอุดมการณ์ร่วมในการรวมกลุ่มภายใต้เงื่อนไขและบริบทสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงของขบวนการนักศึกษา ได้แก่ (1) การสถาปนาการเมืองภาคประชาชน (2) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารและสื่อใหม่ (3) อิทธิพลทางความคิดระหว่างนักวิชาการปัญญาชนที่มีต่อขบวนการนักศึกษา และ (4) ลักษณะสำคัญของขบวนการนักศึกษาไทย ดังนั้น การพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยในกลุ่มนักศึกษา ภายใต้นโยบายการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองการเคลื่อนไหวโดยให้ความสำคัญกับการเมืองเชิงโครงสร้างและปัญหาประชาธิปไตยเชิงกระบวนการ อีกทั้งควรพัฒนาระบอบประชาธิปไตยโดยผ่านกระบวนการการเลือกตั้ง และกระบวนการได้มาซึ่งรัฐบาลแบบประชาธิปไตย โดยให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยเชิงเนื้อหากระบวนการตรวจสอบ การมีส่วนร่วมทางการเมือง และกระบวนการได้มาซึ่งรัฐบาลแบบประชาธิปไตย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชนการวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชาญวิทย์ รักษ์กุลชน. (2556) .การมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของนักศึกษา กรณีศึกษา เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516. กรุงเทพฯ.

ธีรยุทธ บุญมี. (2541). ธรรมรัฐแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2537). การเคลื่อนไหวทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บูฆอรี ยีหมะ. (2552). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประมวล รุจนเสรี. (2541). Good Governance การบริหารที่ดีในนายอำเภอในฝัน. กรุงเทพฯ.

ประภาส จารุเสถียร และประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. กรุงเทพฯ.

แปลก เข็มพิลา. (2557). 14 ต.ค. ครบรอบ 41 ปี 'วันมหาวิปโยค' เรียกร้องประชาธิปไตยไทย. ไทยรัฐออนไลน์.

พาขวัญ พินิจกิจวัฒน์. (2558). การศึกษาผู้หญิง: แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกูล, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ .(2546). วันสำคัญทัพขบวนการนักศึกษาไทยจาก 2475-14 ตุลาคม 2516. กรุงเทพฯ: สายธาร.

อมรัน ระเด่นอาหมัด. (2556). การใช้สิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในกระบวนการ ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ.

Lewis, S. F. (1990). Youth movements: A theoretical framework. In R. Muncie, J. L. Smelser, & P. B. Reynolds (Eds.), Youth, identity, and power (pp. 11-28). London: Routledge.

Roskin, R. L., Cord, J., Medeiros, A., & Jones, W. S. (1997). Political science an introduction. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11

How to Cite

เจริญรัตน์ อ. (2024). การเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาบนพื้นที่เสมือนจริง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(2), 701–712. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3005