การบริหารโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี: กรณีศึกษาโรงเรียนที่โดดเด่น
คำสำคัญ:
การบริหารโรงเรียน, โรงเรียนคุณภาพ, โรงเรียนที่โดดเด่นบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษากระบวนการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี การออกแบบวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิจัยในลักษณะศึกษาเดี่ยว กรณีศึกษาโรงเรียนกุมภวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยวิธีการสังเคราะห์และใช้การบรรยายและสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบบรรยายและพรรณนา จากนั้นอภิปราย สรุปผล เพื่อหาข้อสอดคล้องกับทฤษฎีและนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียน กุมภวาปีมีองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา 6 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาครู ด้านการเรียนการสอน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านระบบประกันคุณภาพ ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) สภาพการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนกุมภวาปี มีการดำเนินการ ดังนี้ ด้านการพัฒนาครู ครูทุกคนอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ต่อปี รายงาน กำกับ ติดตามผ่านระบบออนไลน์และนำผลไปปรับปรุง พัฒนาครูด้านการเรียนการสอน ใช้เทคโนโลยีและเน้นการสอนเชิงรุก ติดตาม ประเมินผลโดยการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน ครูนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาการสอน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมและนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ด้านระบบประกันคุณภาพ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ประเมินผลและนำผลไปปรับปรุงพัฒนากิจกรรม ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ แต่งตั้งคณะกรรมการ จัดให้มีสื่อเทคโนโลยีครบทุกห้องเรียน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างสม่ำเสมอ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ครูนำหลักสูตร ไปใช้ประเมินโดยผู้มีส่วนได้เสียและปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ 3) สภาพปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนกุมภวาปี พบว่า ด้านการพัฒนาครู สถานที่ในการจัดอบรมไม่เพียงพอ จึงแบ่งครูเป็นกลุ่มย่อย ๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ารับการพัฒนา ด้านการเรียนการสอน มีการจัดกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้กระทบต่อเวลาเรียน จึงบูรณาการกิจกรรมที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันและให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมแทน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ไม่พบปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ด้านระบบประกันคุณภาพ กิจกรรมไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของโรงเรียน จึงประชุมเพื่อหาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขกิจกรรมนั้น ๆ ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนและ โรงอาหารมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ระบบไฟฟ้ามีสภาพเก่า จึงมีการให้นักเรียนเดินเรียนและกำหนดการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา นักเรียนเลือกเรียนบางรายวิชาเป็นจำนวนมาก ทำให้วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมไม่เพียงพอ จึงปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อนำงบประมาณมาจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
References
จันทิมา ทรัพย์จันทร์. (2560). การบริหารที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษาในจังหวัดระยองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชรินทร์ เกิดพุ่ม. (2564). สภาพปัญหาและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ประจักษ์พงศ์ วรรณโชติ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาณุพงศ์ พนมวัน. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติกับการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของประชากรไทยวัยแรงงานปี 2562. วารสารการศึกษาไทย, 17(1), 27-31.
โรงเรียนกุมภวาปี. (2564). แผนปฎิบัติการประจำปี 2564. สืบจาก 17 กันยายน 2562 จาก http://kwp.ac.th/ita/.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รวมผลงานสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 1 ปี (มีนาคม 2564 – 2565) EDUCATION WE CAN TRUST. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2561). โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. สืบจาก 17 กันยายน 2562 จาก https://www.m society.go.th/article_attach/14494/18145.pdf.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2564). ฟิสิกส์รอบตัว ตอนฉนวนกัน ความร้อน. สืบจาก 17 กันยายน 2562 จาก http://scimath.org/lesson-physics/item/7308-2017-06-14- 15-23-36.
อรุณ รักธรรม. (2552). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Bertalanffy, L. V. (1968). General System Theory: Foundations, Development, Applications. New York: George Braziller.
Brooks, J. G., & Brooks, M. G. (1993). In search of understanding: The case for constructivist classrooms. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.
Borko, H. (2004). Professional development and teacher learning: Mapping the terrain. Educational Researcher, 33(8), 3-15.
Bruner, J. S. (1966). Toward a theory of instruction. Harvard University Press.
Bandura, A. (1977). Social learning theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. Cambridge, MA: Center for Advanced Engineering Study, Massachusetts Institute of Technology.
Epstein, J. L. (2001). School, family, and community partnerships: Preparing educators and improving schools. Boulder, CO: Westview Press.
Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago Press.
OECD. (2018). The future of education and skills: Education 203. Organization for Economic Co-operation and Development.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday/Currency.
Sergiovanni, T. J. (2001). The principalship: A reflective practice perspective (4th ed). Boston: Allyn and Bacon.
Wimpelberg, R. K. & Teddlie, B. (1989). Sensitivity to context: The past and future of effective schools research. Educational Administration Quarterly, 25, 82-105.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน