ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา(COVID-19) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา(COVID-19) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นิรมล เนื่องสิทธะ -

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, พฤติกรรมการ, ไวรัสโคโรนา (COVID-19)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในแต่ละยี่ห้อ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ประชาชนที่รับวัคซีนจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน  จำนวน 150 คน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนั้นนำมาวิเคราะห์คำนวณหาค่าทางสถิติ ต่าง ๆ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) แตกต่างกันทั้ง เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ อาชีพ วัคซีนและจำนวนเข็มที่ฉีด และปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) ด้านความคาดหวังในประสิทธิผลวัคซีน พบว่า สาเหตุจูงใจสำคัญ คือ ปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลกระทบรุนแรงเป็นวงกว้าง ด้านทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส พบว่า เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย ประชาชนส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการแพร่ระบาดของไวรัส โดยมีการติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลบหลีกและหาวิธีป้องกันมากยิ่งขึ้น ด้านการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส พบว่า การติดเชื้อโรคเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปอดบวมปอดอักเสบ และด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส พบว่า สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าในขณะที่อยู่นอกเคหะสถาน สามารถป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสได้

References

กัญญาภัค ประทุมภู. (2559). ปัจจัยแรงจูงใจในการป้องกันโรคที่มีผลต่อการรับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ในผู้สูงอายุ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : คณะวารสารศาสตร์และ

สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรมควบคุมโรค. (2554). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก (สำหรับครูและผู้ดูแลเด็ก)

(พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ

SAS. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฐิติยา เนตรวงษ์. (2564). เชื่อมต่อโลก: บทบาทของอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งในยุคโควิด-19. วารสาร

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 6(1), 115-127.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข (2564) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากร

ทางการแพทย์ โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการ

ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตําารวจ 2020;

:323-37.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชิ้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) หรือ (ศบค.).(2564). ข้อมูลสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19

สัญญา สุปัญญาบุตร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด a

(2009h1n1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 18(2), 1-11.

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย. (2564). ความรู้เกี่ยวกับโคโรนาไวรัสโควิด-19. สืบค้นเมื่อ

มีนาคม 2565,/แหล่งที่มา/ https://www.who.int/thailand

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

(โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการ

สาธารณสุขชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2563.

Rogers, R.W. A Protection Motivation Theory of Fear Appeals and Attitude Change. Journal of

Psychology, 1975, 91, pp. 93-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-28 — Updated on 2023-02-05

Versions

How to Cite

เนื่องสิทธะ น. (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา(COVID-19) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร: ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา(COVID-19) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(2), 91–102. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/304 (Original work published 28 สิงหาคม 2022)