การบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • เด่นศักดิ์ ยะไชยศรี หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • กชกร เดชะคำภู หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • จารุกัญญา อุดานนท์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การบริหาร, การบริการสาธารณะแนวใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับ
การบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่
เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีโดยใช้วิธีวิจัยเชิงประมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 40 คน และกลุ่มเป้าหมาย การสัมภาษณ์
เชิงลึก ได้แก่ ข้าราชการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 19 คน และสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์
ต่อการบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ระดับสูง และมีความสัมพันธ์ในทางบวก 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ควรมีการลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนก่อนจัดบริการสาธารณะโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและการเดินทางไม่สะดวก ด้านการให้คุณค่าความเป็นพลเมือง เจ้าหน้าที่ควรมีความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการเหมือนกันทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบในการทำงาน ควรมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ตามกฎหมายระเบียบ สามารถนำพาองค์กรไปสู่ผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้านมุ่งให้คุณค่ากับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ควรมีการจัดทำการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตหรือก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวมของหน่วยงาน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การสังเคราะห์และถอดบทเรียนนวัตกรรมท้องถิ่นและการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ต้นแบบการบริหารจัดการภารกิจถ่ายโอน). สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

ชัยวุฒิ วรพินธุ์, เพ็ญพิสุทธิ์ ไชยกาญจน์, อาด บรรเจิดฤทธิ์, และวิมล หอมยิ่ง. (2557). คุณลักษณะภาวะผู้นำยุคใหม่กับสมรรถนะการบริหารงานแบบมืออาชีพของปลัดเทศบาลในภาคกลาง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 86-96.

ธิษณารินทร์ เหลืองจิรโชติกาล. (2564). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(1), 145-146.

ธีรยุทธ ชะนิล. (2562). รายงานการวิจัย เรื่อง ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ธัญญามาศ แดงสีดา. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พยุงศักดิ์ ทราบรัมย์. (2557). การนำแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ไปใช้ในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระยุทธ สายบุญ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิริพร เพียรพิทักษ์. (2559). การบริการสาธารณะแนวใหม่ในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2559). การบริหารงานภาครัฐ: จากคำประกาศแห่งเมืองแบล็คเบิร์ก(Blacksburg Manifesto) สู่การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS). จาก https://reru.ac.th/articles/images/vijai_13_09_59_2.pdf.

สัญญา เคณาภูมิ. (2561). กระบวนทัศน์การจัดการบริการสาธารณะแนวใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 181-197.

สมชัย นันทาภิรัตน์. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 11-127.

Bass, B. M. & Avlio, B. J. (1984). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. California: SAGE.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24