สมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา รูปเรี่ยม หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • กชกร เดชะคำภู หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • สำราญ วิเศษ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, เทคโนโลยีดิจิทัล, สมรรถนะบุคคล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4  2) ศึกษาสมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4  3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 จำนวน 223 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะบุคคลด้านทัศนคติ ด้านความรู้  ด้านทักษะ และด้านแรงจูงใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 มีอำนาจทำนายประมาณร้อยละ 74.80 3) ด้านทัศนคติ ควรมีการสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรให้ศึกษาและใช้งานระบบเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่เสมอ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้สึกว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ด้านความรู้ ควรมีการจัดฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานเพื่อให้บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ ด้านทักษะ ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ไขปัญหา ด้านแรงจูงใจ ควรมีการให้สวัสดิการด้านต่าง ๆ ให้คำชมเชยกับผู้ที่ปฏิบัติงานเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ

References

กันตยา เพิ่มผล. (2541). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.

กัลป์ยกร สัญญะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ดาวรุ่ง หนูรูปงาม, ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ, และวรรณี เนียหอม. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักอำนวยการสำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการภาค 7. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 20(90), 65-75.

ธนัญกรณ์ ทองเลิศ และกมลพร สอนศรี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร, 10(2), 92-102.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

นภสร สุดท้วม. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปภัสรินทร์ กัมปนาทยุทธเสนี. (2563). สมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริการประชาชนของเทศบาลตำบลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปาริฉัตร หิรัญสาย. (2559). สมรรถนะของบุคลากรและการถ่านโอนความรู้ที่ก่อให้เกิดวัตกรรมในองค์กร บริบทธนาคารพาณิชย์ไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พูลสุข สังข์รุ่ง. (2550). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บี เคอินเตอร์ ปริ้นท์.

พรพิมล พิทักษธรรม. (2559). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาโรงแรมคอลัมม์ แบงค็อก กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

พศรัตน์ นิวรัตน์. (2558). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน โรงเรียนบ้านป่าสักไก่. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

รัชจิกร จิตวัฒนานนท์. (2564). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วิษณุ กิตติพงศ์วรการ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วินัย ปณิธานรักษ์ชัย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมล์ของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 513-519.

สุพรรณี รัตนโรจน์มงคล (2563) . ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานธนาคารของรัฐขนาดใหญ่ ABC. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาวิดา นากกระแสร์, อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์, และธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์. (2565). ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(4), 323-338.

สุรชัย พรหมพันธุ์. (2554) ชำแหละสมรรถนะเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2566). Digital Literacy คืออะไร. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566 จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp.

สำนักงานอัยการสูงสุด.(2566). สำนักงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดภาค 4. สืบค้น 20 กันยายน 2566 จาก https://www.ago.go.th/oagsite/.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลของสำนักงานอัยการสูงสุด. สืบค้น 20 กันยายน 2566 จาก https://www3.ago.go.th/ictc/.

ศตวรรษ กล่ำดิษฐ์. (2560). สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า กรณีศึกษาบริษัทสายไฟฟ้าไทย-ยาซากิ จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

อารีย์ มยังพงษ์. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Munn, N. L. (1971). Introduction to Psychology. Boston: Houghton Miffin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24

How to Cite

รูปเรี่ยม อ., เดชะคำภู ก., & วิเศษ ส. (2024). สมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(3), 1204–1218. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3373