ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน กับ ซัมซุง ผ่านเว็บไซต์ช้อปปี้ไทยแลนด์
คำสำคัญ:
โทรศัพท์มือถือ, ส่วนผสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟน (iPhone) กับ ซัมซุง (Samsung) ผ่านเว็บไซต์ช้อปปี้ไทยแลนด์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟน (iPhone) กับ ซัมซุง (Samsung) ผ่านเว็บไซต์ ช้อปปี้ไทยแลนด์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้จำนวน 400 รีวิว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (10P’s) ที่มีผลต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ iPhone ได้แก่ ด้านการจัดจำหน่าย คิดเป็นร้อย 30.22 รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 18.45 และด้านราคา คิดเป็นร้อยละ 12.23 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (10P’s) ที่มีผลต่อ การเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ Samsung ได้แก่ ด้านการจัดจำหน่าย คิดเป็นร้อย 20.46 รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 19.88 และด้านการส่งเสริมตลาด คิดเป็นร้อยละ 15.25 การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการระดับตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟน (iPhone) กับ ซัมซุง (Samsung) ผ่านเว็บไซต์ช้อปปี้ไทยแลนด์ ไม่แตกต่างกัน โดยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกใช้โทรศัพท์มือถือจาก ด้านการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา
References
กาญจน์กวิน ปลั่งเจริญศรี, อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน, บัณฑิต ผังนิรันดร์, ปราณี ตรีทศกุล, สิริอร จำปาทอง และณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฎฐ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด การบริหารลูกค้าสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(2) 92-102.
ชฎารัฐ ขวัญนาค, นุชรี พิทักษ์ และศรายุทธ อินตะนัย. (2565). บทบาทของคุณภาพของการพาณิชย์บนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่และกลยุทธ์การกำหนดราคาที่มีต่อพฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์มไลน์แมนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(2), 127-143.
เชิดชัย ธรรมอมรพงศ์. (2563). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการซื้อ โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(1), 1-12.
ต้วน หยิน. (2560). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. Jourrnal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 10(1), 19-32.
ฟิลลิป คอตเลอร์, แกร์รี อาร์มสตรอง, วารุณี ตันติวงศ์วาณิช, นิภา นิรุตติกุล, สุนทรี เหล่าพัดจัน, พรพรหม พรหมเพศ, นิตยา งามแดน และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2552). หลักการตลาด ฉบับมาตรฐาน และนิยามศัพท์การตลาด พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า.
วัชรพงษ์ พนิตธํารง. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 11(1), 141-149.
ภูริ ชุณห์ขจร และชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงอาหารและส่วนประสมทางการตลาดบริการ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารชายฝั่งทะเลตะวันตก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 66-81.
อัจจิมา ทีคะพันธ์ และอัจฉราวรรณ รัตนพันธ์. (2566). ความไว้วางใจและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งต่อผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.
อรวิภา พงศ์สุวรรณ. (2564). การรับรู้ส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ของผู้ใช้บริการศูนย์บริการเอไอเอส. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Richter. T. (2012). International Marketing Mix Management. Berlin: Logos Verlag Berlin GmbH.
SAMSUNG. (2566). Samsung. สืบค้น 9 ธันวาคม 2566 จาก www.samsung.com/th/aboutSamsung.
Shopee Thailand. (2566). คะแนนของสินค้า. (ออนไลน์). สืบค้น 9 ธันวาคม 2566 จาก https://shopee.co.th./apple flagshipstore.
Yamane, T. (1969). Statistics An Introductory Analysis (2nd ed) . New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน