ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, สวัสดิการผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 3) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 216 คน คำนวณโดยใช้สูตรของท่าโร่ ยามาเน่ จากประชากรจำนวน 466 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านรายได้ ด้านนันทนาการ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่พักอาศัย อยู่ในระดับน้อย 2) ระดับปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยสนับสนุนด้านวิสัยทัศน์และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านบุคลากร ด้านเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ และการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ประกอบด้วยปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ ด้านงบประมาณ ด้านการมีส่วนร่วม มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ส่วนปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ ไม่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 4) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พบว่า บุคลากรด้านสาธารณสุขไม่เพียงพอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดงบประมาณและอุปกรณ์ มีความต้องการให้บริการด้านสาธารณสุขถึงที่พักอาศัย ผู้สูงอายุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อาชีพของผู้สูงอายุมีน้อย กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องยังไม่ชัดเจน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรเพิ่มบุคลากรด้านสาธารณสุข รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ ควรแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน รัฐบาลควรหาตลาดรองรับสินค้าของผู้สูงอายุ
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. สืบค้น 3 มิถุนายน 2566 จาก http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/stan16/16.htm.
ชัยวัฒน์ เอี่ยมประภาศ. (2561) ผลสัมฤทธิ์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุของเทศบาลในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารราชนครินทร์, 16(2), 39-51.
ฑิตยา สุวรรณะชฎ. (2527) สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). องค์การและการบริหาร พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นฤมล ถาวร. (2561). การบริหารจัดการด้านการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหาราธารณะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นงนุช อินต๊ะแก้ว. (2554). การบริหารจัดการด้านผู้สูงอายุตามมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แดง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญมาก มากสุข. (2558). การบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลบัวลอยอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2523). องค์การกับลูกจ้าง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิวิมล กองทรัพย์เจริญ. (2563). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และชวลิต ประกวานนท์. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). รัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังมคมจังหวัดนครพนม ประจำปี 2565. นครพนม: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ ภาคและจังหวัด พ.ศ. 2564-2565. สืบค้น 3 มิถุนายน 2566 จาก www.statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/06.aspx.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publication.
UN-Habitat. (2004). 72 Frequently Asked Questions about Participatory Budgeting. Urban Governance Toolkit Series, UN-Habitat, Quito.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน