พฤติกรรมและความต้องการในการรับบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, ความต้องการ, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, เศรษฐกิจสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย 2) ศึกษาความต้องการในการรับบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีประชากรในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่เดินทางมาในจังหวัดเลย ไม่สามารถระบุจำนวน จึงกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรคำนวณของ Cochran (1953) วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า วัตถุประสงค์หลักในการท่องเที่ยว คือ เยี่ยมญาติ เพื่อน มีแหล่งท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ คือ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น วัด โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ เป็นต้น เดินทางระหว่างวันหยุด เป็นแบบครอบครัว ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ ความปลอดภัยของสถานที่ท่องเที่ยว วิธีที่นิยมหาข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ หาข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่เห็นว่ารูปแบบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เหมาะกับจังหวัดเลย คือ การบริการอาบน้ำแร่ (Spa) บริการอาบน้ำแร่ในบ่อน้ำแร่ น้ำพุ สปาปลา การแช่น้ำนม ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความสนใจในรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสนใจในกิจกรรม ชมการสาธิต เรียนรูและฝึกปฏิบัติวิธีการนวดไทยแผนโบราณ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรับบริการนวดไทยแผนโบราณตามโปรแกรมนวดในศูนย์บริการต่าง ๆ พร้อมทั้งสนใจในบริการการสูดดมกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่กระจายออกไปทั่วบริเวณ ชอบใหมีกลิ่นหอมและสามารถบําบัดอาการต่าง ๆ ได้
References
กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง และวิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลากับพื้นที่เชื่อมโยง (พัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 45-69.
เขมลักษณ์ คุปคีตพันธ์ และปริญญา บรรจงมณี. (2563). แนวทางการพัฒนาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยว ชาวยุโรปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 1-13.
ชวัลนุช อุทยาน (2564). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://touristbehaviour.wordpress.com
นัทธ์หทัย เถาตระกูล และภัทรพรรณ วรรณลักษณ์. (2563). การตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(2), 72-83.
ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 250-268.
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561. (2561, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 59 ก หน้า 27.
มนไท เหรัญญะ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชาวไทยผู้ที่สนใจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาระศาสตร์, 4(3), 664-677.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2552). โครงการศึกษาแผนภาพอนาคตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries Foresight) เพื่อใช้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Mathieson, A., & Wall, G. (2009). Tourism: Change, Impacts, and Opportunities. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Global Wellness Institute. (2018). Global Wellness Tourism Economy Executive Summary NOVEMBER 2018. Global Wellness Institute.
Hawkins, D. I. & Best, R. J., & Coney, K. A. (2001). Customer Behavior: Building Marketing Strategy. Boston: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน