ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • สายใจ วานิชสุจิต รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • สำราญ วิเศษ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • จารุกัญญา อุดานนท์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครพนม  จำนวน  259  คนเป็นการสุ่มตามความน่าจะเป็น  โดยใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเป็นสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One sample t – test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐาน ได้แก่ การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบในการทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีค่าสมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น .662 (R) และสามารถพยากรณ์ถึงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 66

References

กันตยา เพิ่มผล. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังและความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อสำนักงานตรวจ คนเข้าเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นรินภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2560). การสร้างความรู้สึกผูกพันให้กับพนักงาน. เอกสารเผยแพร่เพื่อและพัฒนา เล่มที่ 1.

ปัทมาพร ท่อชู. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. อินดัสเตรียลเทคโนโลยี รีวิว, 22(282), 94-100.

พัณศา คดีพิศาล. (2564). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท เวิลด์พลาส จำกัด และ บริษัทในเครือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เลขที่ 4 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ.

วาสนา วภักดิ์เพชร. (2562). อิทธิพลของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจถ่ายโอนของเทศบาลตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิไลวรรณ ศรีสงคราม. (2562). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

สมใจ ลักษณะ. (2563). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนครพนม. (2565). สำนักงานท้องถิ่นอำเภอโพนสวรรค์. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม.

อุทัย หิรัญโต. (2561). สารานุกรมศัพท์สังคมวิทยา-มนุษย์วิทยา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

อัซวาน เส็น และฟิตราน การาวัล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเทศบาลนครยะลา. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Peterson, E. & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Hackman, J. R. & Oldham, G. R. (1980). Work redesign. Massachusetts: Addison-Wesly Publishing.

Herbert A. S. (1960). Administrative Behavior. New York: The McMillen Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24