ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาไชยปราการ

ผู้แต่ง

  • พฤกษ์ เชิงเงี้ยว บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ศิริรัตน์ รัตนพิทักษ์ บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, การยอมรับการใช้เทคโนโลยี, ปัจจัยในการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และการยอมรับการใช้เทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาไชยปราการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณแจกแบบสอบถามกับลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาไชยปราการ จำนวน 337 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบหาความสัมพันธ์แบบถดถอยเชิงพหุและการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ กับลูกค้าที่ตัดสินใจและไม่ตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus จำนวน 20 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ที่ระดับนัยสำคัญ .05 2) การยอมรับการใช้เทคโนโลยี ด้านการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ส่งผลการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ที่ระดับนัยสำคัญ .05

References

จินตญา สุวรรณน้อย. (2562). ศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) ของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. การศึกษาอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.). (2567). ข้อมูล A-Mobile App. จาก https://www.baac.or.th/coronation-day.php

ธารารัตน์ พวงสุวรรณ. (2563). Electronic commerce การตลาดออนไลน์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปกเกศ ปั้นสมสกุล. (2563). ศึกษาการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันธนาคารออมสิน (MYMO) ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปราโมทย์ ลือนาม. (2564). แนวความคิดและวิวัฒนาการของแบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 19(2), 9-17.

สุวภา ภูษิตประภา. (2563). ศึกษาการยอมรับและตัดสินใจใช้งานแอปพลิเคชั่น MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน. การศึกษาอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หนึ่งฤทัย ไชยลา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในสลากดิจิทัล ผ่านแอปพลิเคชัน (MyMo) ของลูกค้าธนาคารออมสิน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.

Fiore, A. M., Kim, J., & Lee, H.-H. (2005). Effect of image interactivity technology on consumer responses toward the online retailer. Journal of Interactive Marketing, 19(3), 38-53.

Ooi, K. B., & Tan, G. W. H. (2016). Mobile technology acceptance model: Aninvestigation using mobile users to explore smartphone credit card. Journal of Expert Systems with Applications, 59, 33-46.

Richard, M. O. & Habibi, M. R. (2020). Advance modeling of consumer behavior: The moderating roles of hedonism and culture. Journal of Business Research, 69, 1103-1119.

Lasi, M. B. A. (2021). The Relationship between E-Marketing Mix Strategy and Integrated Marketing Communication: A Conceptual Framework. International Journal of Economics and Management Systems, 6(2021), 167-184.

Meng, S. K. & Chatwin, C. (2012). Measuring E-Marketing Mix Elements for Online Business. International Journal of E-Entrepreneurship and Innovation, 3(3), 13-26.

Sinha, I. & Mukherjee, S. K. (2016) Acceptance of Technology, Related Factors in Use of Off Branch E-Banking: An Indian Case Study. The Journal of High Technology Management Research, 27(1), 88-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24