การเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษา และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน

ผู้แต่ง

  • ศศิวัฒน์ ตันติบุญยานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก
  • นลิน ศรพรหม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

พลังสุขภาพจิต, หลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน, ความเชื่ออำนาจควบคุม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทำให้มีการพัฒนาตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับแนวโน้มการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา จะต้องมีการปรับเปลี่ยนจากที่มุ่งเน้นด้านองค์ความรู้ของผู้เรียนเพียงอย่างเดียว เป็นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาให้มีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการทำงานในยุคสมัยที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในทุก ๆ ภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนโดยเฉพาะในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น การนำทักษะที่ได้รับการกล่าวถึงในสภาเศรษฐกิจโลก ว่าจำเป็นต่อการทำงานในอนาคต และหนึ่งในนั้น คือ พลังสุขภาพจิต ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยกรมสุขภาพจิต ให้คำอธิบายไว้ว่า เป็นความสามารถเฉพาะบุคคลที่พัฒนาได้ ในการปรับตัวและฟื้นตัวกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ภายหลังเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤต เมื่อนำมาผสมผสานกับหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน จะทำให้บัณฑิตที่จบออกไปเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มขีดความสามารถที่มีประโยชน์ต่อสถานประกอบการ เป็นผู้ที่มีความสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง มีความกระตือรือร้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และยังคงรักษาการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570. เอกสารสำเนา.

กรมสุขภาพจิต. (2563). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.

กรมสุขภาพจิต. (2565). แนวทางการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.

จิตรภานุ ดำสนวน. (2560). ปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ภูมิคุ้มกันทางใจของวัยรุ่นในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2549). ความเชื่ออำนาจในตน: การวัด ความสำคัญ และการเปลี่ยนแปลง. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 8(2). 107-142.

นิภารัตน์ รูปไข่. (2557). อิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤภัค ฤธาทิพย์ และสตรีรัตน์ รุจิระชาคร. (2565). การศึกษาผลโปรแกรมการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่น โดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 25(2). 54-62.

วิชญะ น้อยมาลา. (2564). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1). 45-57.

ศุภรัตน์ เอกอัศวิน และเยาวนาฎ ผลิตนนท์เกียรติ. (2551). ความสามารถยืนหยัดเผชิญวิกฤติ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 16(3). 190-198.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 53). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และอิงคฏา โคตรนารา. (2552). ความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤต: การทบทวนบทความทางวิชาการ. วารสารพยาบาลและสุขภาพ, 32(1). 90-101.

สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์. (2559). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์แนวอัตถิภาวนิยม-มนุษย์นิยมต่อสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (2563). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2563. สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานในสถาบันอุดมศึกษา (Work-Integrated Learning). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เสาวลักษณ์ ภารชาตรี. (2551). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นทางอารมณ์ต่อความเครียดของนักเรียนที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2564). หลักสูตรการศึกษาอบรมสำหรับผู้บริหาร คณาจารย์นิเทศ ผู้นิเทศ และผู้ปฏิบัติงาน ด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work-Integrated Education: CWIE). สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

American Psychological Association. (2014). The Road to Resilience. Washington, DC: American Psychological Association.

Cascio. (2020). BANI and Chaos. Retrieved June 10, 2024, from https://ageofbani.com/2022/04/bani-and-chaos/.

Rotter, J. B. (1966). Generalized Expectancies for Internal Versus External Control of Reinforcement. Psychological Monographs, 80(1). 1-28.

Rotter. J. B. (1990). Internal Versus external control of reinforcement: American Psychologist, 45(4), 489-493. https://doi.org/10.1037/003-066X.45.4.489.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

ตันติบุญยานนท์ ศ., & ศรพรหม น. (2025). การเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษา และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 45–57. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3610