การศึกษาการรับรู้และทัศนคติของลูกค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคารแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • อัครชน โปร่งคำ บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สวรส ศรีสุตโต บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, การรับรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ และทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ และ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ งานวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณที่ดำเนินการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มลูกหนี้ค้างชำระของธนาคารแห่งหนึ่ง จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมมาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระ จำนวน 10 ราย ผลการศึกษา พบว่า 1) ลูกหนี้ค้างชำระส่วนใหญ่มีการรับรู้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระและทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ ในระดับมาก 2) การรับรู้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ มีระดับอิทธิพล 39.20 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ 3) ทัศนคติทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านช่องทางจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการบริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ มีระดับอิทธิพล 48.00 ที่ระดับนัยสำคัญ .05

References

ชูชัย สมิทธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารออมสิน. (2565). รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนธนาคารออมสินปี 2565. สืบค้น 6 มิถุนายน 2566 จาก https://www. gsb.or. th/csr/sustainable/sustainability-reposts/report/.

ธนาคารออมสิน. (2565). รายงานประจำปีธนาคารออมสินประจำปี 2565. สืบค้น 6 มิถุนายน 2566 จากhttps://www. gsb.or. th/about/anrp/.

บุหรงวไล อธิสุข. (2564). คาดหวังและความพึงพอใจต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ของผู้รับบริการธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน. การค้นคว้าอิสระวารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาพิมล เลาหวณิช และลลิตา หงษ์รัตนวงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจชำระหนี้สินเชื่อที่ส่งผลให้เกิด NPLs ของธนาคารออมสิน สาขาป่าตอง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, 17 กรกฎาคม 2563, หน้า 1699-1715. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2565). หลักการตลาด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2565). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อลิสา หมีดเส็น และปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์. (2562). การรับรู้คุณค่าการบริการของลูกหนี้ร่วมที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อในอนาคต กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาหาดใหญ่. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 15-29.

Yamane T. (1973). Statistic: An introductory and lysis. New York: Harpar and row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

โปร่งคำ อ., & ศรีสุตโต ส. (2025). การศึกษาการรับรู้และทัศนคติของลูกค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคารแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 254–264. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3648