ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการ และคุณภาพการสอบบัญชี กับความสามารถในการทำกำไรและการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100

ผู้แต่ง

  • วัชรี รัตนพันธ์ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรรณทิพย์ อย่างกลั่น หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการ, ค่าตอบแทนกรรมการ, คุณภาพการสอบบัญชี, ความสามารถในการทำกำไร, การจ่ายเงินปันผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการ และคุณภาพการสอบบัญชี กับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการ และคุณภาพการสอบบัญชี กับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ SET100 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึงปี พ.ศ. 2566 จำนวน 68 บริษัท ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 340 ตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ค่าตอบแทนกรรมการ ได้แก่ ค่าตอบแทนรายปี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และค่าตอบแทนกรรมการ ได้แก่ ค่าเบี้ยประชุม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตรา เงินปันผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าการกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กรรมการทำงานอย่างมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท ส่วนคุณภาพการสอบบัญชี ได้แก่ ขนาดของบริษัทสอบบัญชี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราเงินปันผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าการเลือกใช้บริษัทสอบบัญชีจากกลุ่ม BIG4 จะมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรและการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนได้ เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง มีทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและผู้ถือหุ้นได้

References

กุลธิดา ศรีเผือก. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอบบัญชีและอัตราส่วนหนี้สินที่มีต่อผลการดำเนินงานและการตกแต่งกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET50. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชุลีพร เบญญาณัฐกุล. (2563). ผลการดำเนินงานและการกำกับดูแลกิจการที่มีผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2567). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้น 18 มีนาคม 2567 จาก https://marketdata.set.or.th

ทัศวรรณ ศาลาผาย และสุภาวดี ชอบเสร็จ. (2560). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคุณภาพของผู้สอบบัญชี ที่มีต่อความสามารถของข้อมูลกำไรและข้อมูลเงินปันผลในการอธิบายราคาหลักทรัพย์: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมและ เทคโนโลยีวิชาการ 2017 “วิจัยจากองค์ความรู้สู่การพัฒนาอย่างย่งยืน” 25-26 ธันวาคม 2560, หน้า D 447-D 463. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

ปิยะณัฐ ถุนพุทธดม. (2561). ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการ คุณภาพการสอบบัญชีที่มีผลต่อการดำเนินงานผ่านการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พรรณิภา มั่นฤทัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนของคณะกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โพยมรัตน์ มหาโชติ และจิรพงษ์ จันทร์งาม. (2565). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทและโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับประสิทธิภาพการจ่ายเงินปันผลของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(2), 218-232.

วรลักษณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระพงษ์ กิติวงศ์. (2561). ผลของการตรวจสำนักงานสอบบัญชีของ ก.ล.ต. ที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(43), 5-26.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2555). หลักสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 35(133), 1-4.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). คู่มือมาตรฐานการบริหารคุณภาพงานสอบบัญชี. สืบค้น 10 มีนาคม 2567 จาก https://acpro-std.tfac.or.th/standard/88/คู่มือมาตรฐานการบริหารคุณภาพงานสอบบัญชี.

สมพงษ์ พรอุปถัมภ์ (2554). ISQC1 กับการควบคุมคุณภาพสำนักงานสอบบัญชีไทย. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 33(130), 14-30.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2563). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560. สืบค้น 10 มีนาคม 2567 จาก https://www.sec.or.th/cgthailand/ TH/pages/ cgcode/cgcodeintroduction.asp.

สุกัญญา วงษ์ละคร และพิธาน แสนภักดี. (2566). ผลกระทบของโครงสร้างคณะกรรมการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(4), 1-13.

สุภรัตน์ ตันฑ์พรชัย. (2559). ผลกระทบระหว่างการตกแต่งกำไรต่อการอยู่รอดในระยะยาวของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Yoon, S., Miller, G., & Jiraporn, P. (2006). Earnings Management Vehicles for Korean. Journal of International Management and Accounting, 17(2), 85-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

รัตนพันธ์ ว., & อย่างกลั่น พ. (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการ และคุณภาพการสอบบัญชี กับความสามารถในการทำกำไรและการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 197–212. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3678