ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร: ปีบัญชี 2566
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ความคาดหวัง, ผู้มีส่วนได้เสีย, ผู้รับบริการ, สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรบทคัดย่อ
ความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญของความสำเร็จของหน่วยงาน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับภาครัฐของประเทศไทย สิ่งนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นกรอบในการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีขององค์กร ดังนั้น บทความจึงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานของรัฐคือ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับบริการ ได้แก่ เกษตรกรที่เข้ามารับบริการด้านการจัดการหนี้สิน และเกษตรกรที่เข้ามารับบริการด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ, ผู้ร่วมค้า, ธนาคาร และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในรอบปีบัญชี 2566 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,430 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้รับบริการทั้ง 2 กลุ่ม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงบประมาณ ข้อมูลข่าวสาร และสถานที่ในการให้บริการ ส่วนผู้มีส่วนได้เสียเกือบทั้งหมดมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ ที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เพราะ มีความพึงพอใจที่ไม่มากนักในด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า จึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหลัก และ 2) สำนักงานฯ สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ เช่นเดียวกับทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้บริหารของสำนักงานฯ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับความต้องการของพนักงาน ให้ได้รับการตอบสนองจนกระทั่งเกิดเป็นความพึงพอใจในระดับเดียวกันกับกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือด้วย
References
จินดาหรา พวงมาลา และสุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน. (2560). แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านบางแก้ว. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 824-837.
ชนกนันท์ ลิ้มประเสริฐ และศรีรัฐ โกวงศ์. (2566). ความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของบุคลากรภายในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกลาโหม กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 12(1), 251-260.
นวพล จินตะบุตร, อาทิตย์ คูประเสริฐ, ณัฐนันท์ โลกวิสัย, สหรัถ ธรรมโรจน์, สุเทพ เยี่ยมขาว และมัชนิกา อินต๊ะขัน. (2563). การศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของพนักงานกรณีศึกษา: บริษัท พีพีเอส.ออโต้เทรด จํากัด. วารสารวิจยวิชาการ, 3(3), 59-70.
บวรวัสส์ นาคปาน และบุญเลิิศ วงศ์เจริญแสงสิริ. (2563). การประยุุกต์์ใช้้แนวคิิดของวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA และระบบการบริหารงานแบบลีน กับการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิิบัติการซ่่อมเครื่องใช้้ไฟฟ้า กรณีศึึกษา บริษัท ABC จํากัด. วารสารวิทยาลััยบััณฑิิตศึึกษาการจััดการ มข., 13(1), 108-129.
มณภร มนุญศาสตรสาทร. (2556). การพัฒนายุทธศาสตร์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร โดยใช้เมทริกซ์การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(2), 61-70.
สมเด็จ ภิมายกุล. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ด้วยโปรแกรม Google Sites. วารสารครุศาสตร์ราชภัฏเชียงใหม่, 1(3), 35-48.
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประจำปีบัญชี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. (2563). โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประจำปีบัญชี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. (2563). ยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2563-2567) สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. (2564). โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้ใช้บริการ ประจำปีบัญชี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. (2565). โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้ใช้บริการ ประจำปีบัญชี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). PMQA… การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
อาจยุทธ เนติธนากูล, สิทธิพันธ์ สกุลสุขเจิญ, ปวิช สอนศิริ, ธนาวัฒน์ แสงอาทิตย์, และธนานันต์ กัญญาราช. (2566). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 12(1), 306-314.
อุรวลี บุนนาค, อำนาจ ธีระวนิช และทองฟู ศิริวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับบุคลิกภาพ และแรงจูงใจในงานของพนักงานธนาคาร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(2), 65-73.
Jagusiak-Kocik, M. (2017). PDCA cycle as a part of continuous improvement in the production company - A case study. Production Engineering Archives, 14, 19-22.
Moonsri, K. (2018). The Influence of Job Satisfaction Affecting Organizational Commitment of the Small and Medium Business Employee. Asian Administration and Management Review, 1(1), 138-146.
Namdech, P., Rattanasirivilai, S., & Rathachatranon, W. (2023). Organizational Citizenship Behavior of Thailand’s Prime Minister's Office Personnel and the Policy Recommendations for Development. Asian Political Science Review, 8(1), 7-16.
Qiu, Y., Zhao, C., Zhu, J., & Li, L. (2019). Analysis of the application and practice of PDCA cycle in management of the naked medicine dispensing—the quality and safety of the drug. Frontiers of Nursing, 6(3), 227-231.
Sangperm, N. (2018). Structural Equation Model Cause of Organizational Citizenship Behavior of Personnel of Kasetsart University Sriracha Campus, Thailand. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 7(1), 31-41.
Sangperm, N., & Pungpho, K. (2020). Exploring The Nexus Between Bonding, Communication, Customer Satisfaction and Customer Loyalty: A Case of Higher Education Institutes in Thailand. Asian Administration and Management Review, 3(2), 25-38.
Siangchokyoo, N., Chalaechorn, N., & Sanohkham, B. (2022). Competent Model of Educational Institute Administrators in the 21st Century That Influences the Effectiveness of the Private Vocational College in Thailand. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 11(2), 78–92.
Suksai, T., Suanpang, P., & Thangchitcharoenkhul, R. (2021). A Digital Leadership Development Model for School Administrators in Basic Education to Fulfill the Thailand 4.0 Policy. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 10(2), 11-20.
Thanchonnang, S., Tadadej, C., Kittipichai, W., & Anunmana, C. (2023). Job Satisfaction and Work-Life Balance Affecting Retention of Generation Y Support Staff: A Case Study of the Faculty of Dentistry of a University in Thailand During Covid-19 Pandemic. Asian Political Science Review, 7(2), 1-11.
Weeraphon, C., & Sirithanabadeekul, P. (2023). A Retrospective Analysis of Patient and Consultant Satisfaction of Teledermatologic Application During Covid-19 Pandemic in Thailand. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(4), 1-11.
Wongkitrungruang, C., Kanjanasuntorn, S., Ritmontri, S., & Ruktanonchai, M. (2017). Clients’ Satisfaction on Public Disaster Assistance Services in Pak Kret Municipality, Thailand. Asian Political Science Review, 1(2), 38-44.
Zailani, Q., Sundram, V., Ibrahim, I., & Senathirajah, A. (2023). Plan-do-Check-Act Cycle: A Method to Improve Customer Satisfaction at a Municipal Council in Malaysia. International Journal of Professional Business Review, 8(4), e0931.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน