ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กระบวนการจัดการความรู้กับองค์การแห่งความเป็นเลิศ: กรณีศึกษาบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • สายสมร พลพรม หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รังสิมา หอมเศรษฐี หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ, กระบวนการจัดการความรู้, องค์การแห่งความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับองค์การแห่งความเป็นเลิศ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กระบวนการจัดการความรู้ของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งหนึ่ง 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งหนึ่งกับองค์การแห่งความเป็นเลิศ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กระบวนการจัดการความรู้ กับองค์การแห่งความเป็นเลิศของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 120 คน โดยหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคํานวณจากสูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, one way anova ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งหนึ่ง มีการเป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และกระบวนการจัดการความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ และระดับการศึกษา ที่ต่างกันมีการเป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศแตกต่างกัน 3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กระบวนการจัดการความรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์การแห่งความเป็นเลิศของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .671 และ .763

References

กัญญาเรษ ทิพย์สุนา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งความเป็นเลิศของพนักงานสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1689.ru.

ทัศนีย์ จันทะนันท์, สิทธิชัย แจ่มปั้นรัก, มีนา อารีรัตน์ พุ่มขู่ และภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล. (2564). ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะพนักงานของบริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน). ทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ ปริทัศน์, 2(1), 55-66.

เทียนชัย อร่ามหยก. (2564). รูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 6(1), 86-99.

รัตนา ศิริพานิช. (2533). หลักการสร้างแบบสอบวัดทางจิตวิทยาและทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

วารุณี ภูมิศรีแก้ว และธนวิทย์ บุตรอุดม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงของเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 9(1), 25-36.

สมโภช ศรีวิจิตรวรกุล. (2561). ปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การเชิงบวกที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลากรสู่องค์การแห่ง ความเป็นเลิศ: กรณีศึกษาบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สรรพสิทธิ์ ยอดมาลี. (2562). การเป็นองค์การสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลใน จังหวัดอุบลราชธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สุลาลักษณ์ ขาวผ่อง. (2563). การบริหารคณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สู่การเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เสาวลักษณ์ พัดเกาะ. (2562). การบริหารองค์การสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบริหารทรัพยากรบุคคลสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

แสงระวี แซ่ตั๋น. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะข้าราชการของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากระบี่. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอกกนก พนาดำรง. (2559). มุ่งสู่...องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ด้วย KM. เวชบันทึกศิริราช, 9(2), 90–92.

Blanchard, K. (2007). Leading at a High-Level: Blanchard on Leadership and Creating High Performing. New Jersey: Prentice-Hall.

Organ, D. W. (1988). Organizational Citizenship Behavior: The Good Soldier Syndrome. Massachusetts: Lexington Books.

Yamane, T. (1970). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Tokyo: John Weather Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

พลพรม ส., & หอมเศรษฐี ร. . (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กระบวนการจัดการความรู้กับองค์การแห่งความเป็นเลิศ: กรณีศึกษาบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3726