ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนหนองหานวิทยา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กรวิภา ใจตรง หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สุรางคณา มัณยานนท์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ยุคดิจิทัล, ผู้บริหารโรงเรียน, คำสำคัญ: ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารโรงเรียน, แนวทางพัฒนาผู้นำ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนหนองหานวิทยา ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล จำนวน 97 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ทางอีเมล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนหนองหานวิทยา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การกระจายตัวน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง รองลงมา คือ มนุษยสัมพันธ์ และสมรรถนะผู้นำ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำมุ่งอนาคต 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล ดังนี้ การกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชัดเจน การจัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ทันสมัย การนำระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนและเครื่องมือออนไลน์มาใช้ การติดตามและประเมินการใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างสม่ำเสมอ การดูแลความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรดิจิทัลของนักเรียน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้เพียงพอต่อการเรียนรู้แบบดิจิทัล

References

ณัฐปาลิน นิลเป็ง. (2560). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 16-19.

ธนวัฒน์ กองแก้ว และนิคม นาคอ้าย. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลกอุตรดิตถ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 322-333.

ธีรศักดิ์ สารสมัคร, ไพรวัลย์ โคตรตะ และชวนคิด มะเสนะ. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5, 9 พฤษภาคม 2563, หน้า 92-101. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

นภัทร ธัญญวณิชกุล, ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล และทิวัตถ์ มณีโชติ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 233-243.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

แสงดาว คณานับ และลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 8(2), 1035-1048.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภวัช เชาวน์เกษม, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 3(3), 63-99.

สุภาพร ภูสมที. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุวภัทร เสียมภูเขียว. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในเครืออำเภอบ้านดุงในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ สกลนคร, 3(2), 48-62.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. อุดรธานี: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (1998). Research in Education (8th ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

ใจตรง ก., อุสาโห ก., & มัณยานนท์ ส. (2025). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนหนองหานวิทยา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 377–387. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3731