ประเภทของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้และการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบสารสนเทศ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบออนไลน์ในเขตภาคใต้
คำสำคัญ:
ประเภทของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้, การยอมรับเทคโนโลยี, ความสำเร็จของระบบสารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเภทของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล 2) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี ประกอบด้วย ด้านความคาดหวังต่อการปฏิบัติงาน ด้านความคาดหวังในความพยายาม ด้านอิทธิพลของสังคม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบ และด้านแรงจูงใจในการใช้งาน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบสารสนเทศ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบออนไลน์ในเขตภาคใต้ ประกอบด้วย ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ ด้านคุณภาพของการบริการ ด้านความพึงพอใจ และด้านคุณประโยชน์ของระบบ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มจากผู้ที่เคยยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้ นิติบุคคล ผ่านระบบออนไลน์ในเขตภาคใต้ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ แบ่งประชากรออกเป็นชั้นภูมิตามประเภทของภาษี (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) และสุ่มตัวอย่างจากแต่ละชั้นภูมิตามสัดส่วนที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ภาพรวมภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ภาพรวมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของระบบสารสนเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
References
กรมสรรพากร. (2564). สรรพากรยกระดับการบริการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ใหม่. สืบค้น 30 มีนาคม 2567 จาก https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000097438.
ดวงพร เพชรคง. (2560). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานกฎหมาย 2 สำนักกฎหมาย.สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธนวัฒน์ ไข่หนู. (2564). ประสิทธิภาพของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ในเขต กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฐมาภรณ์ บำรุงผล. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้ยื่นภาษีในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พนิดา สุภาพอาภรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสำเร็จของการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ตของนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ฟ้ารฬิณฑ์ ฟ้าฎิษฐกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Saibon, A., Nawawi, A. & Salin, A. S. A. (2016). E-filing Acceptance by the Individual Taxpayers – A Preliminary Analysis [Electronic version]. Journal of Administrative Science, 13(2), 1-14.
Liker, R. & Likert, J. G. (1976). New Way Management Conflict. New York: McGrawHill.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน