แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีราชินูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีราชินูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้ปฏิบัติหน้าสอน จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีราชินูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกข้ออยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา รองลงมา คือ งานกลุ่มสาระการเรียนรู้ และด้านงานวัดผลและประเมินผลการเรียน ด้านที่น้อยที่สุด คือ งานพฤกษาศาสตร์ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการผู้บริหารควรจัดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการข้อมูล สนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนรู้ สร้างช่องทางการสื่อสารออนไลน์ จัดอบรมความรู้พื้นฐานและปฏิบัติด้านพฤกษศาสตร์ เชิญวิทยากร จัดศึกษาดูงาน สนับสนุนการวิจัยและการเข้าร่วมประชุมวิชาการ รวมถึงจัดทำคู่มือและสื่อประกอบการบริการด้านพฤกษศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 13 มีนาคม 2561 จาก https://www.moe.go.th/การเรียนรู้ในศตวรรษที่-2/.
ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
นคร จงอนุรักษ์. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี 2566. สืบค้น 13 มกราคม 2567 จาก https://www.rachinuthit.ac.th/.
ศราวุธ ศรีสวัสดิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 24 (กาฬสินธุ์). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 6-7.
Best, J. W. & Khan, J. V. (1998). Research in education (8th ed). Boston: Allyn & Bacon.
Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. Cambridge, MA: Center for Advanced Engineering Study, Massachusetts Institute of Technology.
Fayol, H. (1979). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.
Gulick, L. & Urwick, J. (1973). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน