คุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่ กรณีศึกษา: หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา พรหมดี หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวรรณ หวังเจริญเดช หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อุทิศ พงศ์จิรวัฒนา หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณธรรม, ความสำเร็จ, องค์กรยุคใหม่, นักบัญชี, นักการเงิน, นักพัสดุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุ และความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุ และความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย และ 3) เพื่อทดสอบผลกระทบของคุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุกับความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้น และระดับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 184 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบ F-test และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชี การเงินและพัสดุของหน่วยงานภาครัฐ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุจริต อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมขององค์กร ด้านผู้นำองค์กร ด้านผู้ปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการบริหารจัดการ หน่วยงานภาครัฐที่มีกลุ่มหน่วยงาน งบประมาณที่ได้รับต่อปี และจำนวนบุคลากร แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุ และความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่โดยรวม ไม่แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า คุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุ ด้านวินัย ด้านสุจริต ด้านจิตอาสา และด้านกตัญญู มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กาญจนาพร พันธ์เทศ. (2560). วัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กรณิศา ดิษฐ์เสถียร. (2562). คุณสมบัติและกรอบความรูู้ นักบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารสภาพวิชาชีพบัญชี, 1(1), 32-42.

เกวลิน คำฝั้น. (2562). อิทธิพลของคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่มีผลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

โกวิทย์ พวงงาม และคณะ. (2560). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2560. ร้อยเอ็ด: สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด.

คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570). กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธเนตร์ตรี รัตนเรืองยศ. (2563). การบริหารจัดการคืออะไร? กระบวนการ+ประเภทของ Management. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://thaiwinner.com/what-is-management/.

พชร ใจอารีย์ และสันธิธร ภูริภักดี. (2566). ผลกระทบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การต่อประสิทธิภาพในการทำงานของนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 20(1), 13-23.

พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน) สัพโส, ชาตรีสุขสบาย, บัญชา ธรรมบุตร, วาริณี โสภาจร และเกษฎา ผาทอง. (2565). มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) ในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยา, 10(2), 230-239.

พระภัทธชาพงษ์ สิริภทฺโท (ก่ำชัยภูมิ) และพระครูสุธีคัมภีรญาณ. (2563). วิชาชีพการเงินการบัญชีในวิถีทางพระพุทธศาสนา. วารสารชัยภูมิ ปริทรรศน์, 3(1), 22-36.

พัชราภรณ์ งามเริง และกัสมา กาซ้อน. (2566). ผลกระทบของการใช้บัญชีบริหารต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(2), 235-244.

พิลาสินี เอ้ยวัน, ปริยนุช ปัญญา และจตุรภัทร วงศ์สิริสถาพร. (2563). กระบวนการปฏิบัติงานทางบัญชีที่ดีที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของสำนักงานบัญชีคุณภาพใน ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 42-51.

ภัคพร เจริญลักษณ์. (2561). วัฒนธรรมองค์การกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลลิตา พิมทา และบุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2562). ผลกระทบของจริยธรรมทางการบัญชีที่มีต่อความสําเร็จในการทํางาน ของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 119-141.

วนิดา วาดีเจริญ, รังงสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์.(2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิด ทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2561. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2565 จาก https://acpro-std.tfac.or.th/uploads/files/IESBA_summary.pdf.

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2566). แนวทางการพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปรงใสในการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรนุช เจริญวงศ์วรกุล. (2560). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรด้านการบัญชีที่มีต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน ทางด้าน บัญชีของเสมียนการเงินกรมการเงินทหารบก. การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อชิรญาณ์ แย้มทับ, กุลชลี จงเจริญ และชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2563). ความสามารถทางภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 188-200.

Hair, J., Black, W., Babin, Anderson, R., &. (2006). Multiveriate Data Anlysis (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Northouse, P. G. (2013). Leadership: Theory and Practice (6th ed). Sage Publications, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-14

How to Cite

พรหมดี ม., หวังเจริญเดช ส., & พงศ์จิรวัฒนา อ. (2025). คุณธรรมนักบัญชี การเงินและพัสดุ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่ กรณีศึกษา: หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(2), 839–852. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3875