ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ความสำเร็จ, การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 และ 3) พัฒนาทางเลือกเชิงนโยบายในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายใต้การอภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จำนวน 160 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติวิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมติฐานใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านนโยบาย ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 3) ทางเลือกเชิงนโยบายในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายใต้การอภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการจัดสรรบุคลากรและงบประมาณอย่างเหมาะสม มีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และจัดตั้งกระบวนการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2554). รายงานการสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553 การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กฤษดา แสวงดี, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง, รุ่งนภา จันทรา, สุทธานันท์ กัลกะ, เบญจพร รัชตาภิรมย์ และวิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสท์. (2562). การศึกษาภาระงานความพอเพียงของอัตรากำลังและการบริหารกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 147-183.
จรวยพร ศรีศศลักษณ์. (2560). สรุปบทเรียนการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข (WM) ครั้งที่ 36 ปี 2560 วันที่ 18 ตุลาคม 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ชยพล ธานีวัฒน์. (2565). กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2712.
ณัฐฐา วินิจนัยภาค. (2554). นโยบายสาธารณะ แนวทางในการศึกษาแบบสหวิทยาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ตุลยวดี หล่อตระกูล. (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 12(1), 64-72.
นภัสภรณ์ เชิงสะอาด, สิทธิพรร์ สุนทร และเสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(3), 112-126.
นันทรัตน์ เจริญกุล. (2564). การบริหารการศึกษาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2552). แนวคิดยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
มยุรี อนุมานราชธน. (2556). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
วินัย ลีสมิทธิ์ และสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2553). บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การกระจายอํานาจด้านสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ศิริลักษณ์ เงยวิจิตร, จุฑามาศ ชมผา และมาลี ไชยเสนา. (2566). ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนงานด้านสาธารณสุขให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 17(1), 84-98.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2554). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2554). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สสิธร เทพตระการพร, ศุภางค์ วัฒนเสย, จิรภัทร หลงกุล, คัติยา อีวาโนวิช และสิริมา มงคลสัมฤทธิ์. (2566). มุมมองและความคาดหวังของประชาชนต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน