การเมืองแบบอำนาจนิยมในรูปแบบประชาธิปไตยจำแลง

ผู้แต่ง

  • ขวัญณภัทร ภาชนะวรรณ -

คำสำคัญ:

การเมือง, อำนาจนิยม, ประชาธิปไตยจำแลง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ผู้เขียนตั้งใจจะอธิบายถึงการเมืองแบบอำนาจนิยมในรูปแบบประชาธิปไตยจำแลง โดยผู้เขียนมองว่าการเมืองที่มีการแปลงร่างหรือกลับกลายร่างที่เราเรียกว่า “จำแลง” นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและไม่ว่าจะเป็นการเมืองค่ายใดก็ตามจะแอบกลายร่างเพื่อความอยู่รอดของกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองในอันที่จะรักษาอำนาจของตนไว้ จึงสรุปถึงการเมืองแบบอำนาจนิยมในรูปแบบประชาธิปไตยจำแลงสำหรับประเทศไทย   อันประกอบไปด้วย 1. กลุ่มอำนาจนิยมได้ผ่าตัดจำแลงตนวางเครื่องมือของตนและฉกฉวยอุปกรณ์ของประชาธิปไตยที่เข้ากับบริบทและสังคมโลกมากกว่ามาแทน 2. ประเทศไทยนั้นถือเป็นประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ 3. ประเทศไทยยังถือได้ว่าเป็นรอบเผด็จการรัฐสภา 4. การปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยถูกผสมและเข้ากันได้ออกมาเป็นสูตรที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆ 5. ความจริงแล้วระบอบ Monarchy กับ Democracy นั้นเป็นปฏิปักษ์กันมานับตั้งแต่สมัยโบราณ 6. การที่นักอำนาจนิยมมักใช้นโยบายประชานิยมเพื่อหลอกลวงประชาชนคิดว่ามีชีวิตที่ดีขึ้น และ 7. ประเทศไทยมีการแช่แข็งสังคมและการเมืองไว้ในอาณาบริเวณที่พวกอำนาจนิยมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน

References

เอกสารอ้างอิง

เกษียร เตชะพีระ: สาธารณรัฐจำแลงกับเสมือนสมบูรณาญาสิทธิ์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

https://prachatai.com/journal/2021/06/93654.

คำนูณ สิทธิสมาน. เผด็จการรัฐสภา. ผู้จัดการออนไลน์. ที่มา

https://mgronline.com/daily/detail/9550000055837

จักรพล ผลละออ. เผด็จการรัฐสภา : อำนาจเบ็ดเสร็จที่ไร้การตรวจสอบถ่วงดุล. ประชาไทออนไลน์. ที่มา

https://prachatai.com/journal/2014/08/54882

ดันแคน แมคคาร์โก. วาทะกลวงเปล่าและการโหยหาอดีต: ประชาธิปไตยจำแลงผ่านมุมมอง. ที่มา

https://themomentum.co/duncan-mccargo-trends-in-southeast-asian-politics-mediated-

populism-electoralism-authoritarianism/

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2525). รัฐศาสตร์ : สถานภาพและพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dict.longdo.com/search/จำแลง

วีรพงษ์ รามมางกูร. ประชาธิปไตยครึ่งใบ. มติชนออนไลน์. ที่มา

https://www.matichon.co.th/columnists/news_65291

สุชาติ สวัสดิ์ศรี. นสพ.ไทยโพส ฉบับวันที่ 14 มิย 2565. (ออนไลน์). แหล่งที่มา

https://www.thaipost.net/main/detail/31307.

สมบัติ ดำรงธัญวงศ์. (2550). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 6.

กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Boyd, James Penny (1884). Building and Ruling the Republic (ภาษาอังกฤษ). Bradley, Garretson &

Company. pp. 12–13.

Przeworski, Adam (1991). Democracy and the Market. Cambridge University Press. pp. 10–14.

Watkins, Frederick (1970). Democracy. Encyclopædia Britannica (ภาษาอังกฤษ). 7 (Expo '70

hardcover ed.). William Benton. pp. 215–223. ISBN 978-0-85229-135-1.

Sanook พีเดีย. ประชาธิปไตยครึ่งใบ. ที่มา https://guru.sanook.com/2257/ เผยแพร่ 26 พ.ย. 56 05.25 น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27 — Updated on 2023-02-05

Versions