This is an outdated version published on 2022-12-27. Read the most recent version.

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้แต่ง

  • Chuennapha Butdiwong -

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

 บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ชั้นปีที่กำลังศึกษา เพศ และคณะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 404 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผู้วิจัยผลดังนี้ 1.ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28)​ และ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.33) 2. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครแตกต่าง​กันตามปัจจัยส่วนบุคคลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่เพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และคณะที่กำลังศึกษา 3. ตัวแปรทัศนคติสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้ร้อยละ 68.10 (R2Adj.= .681) ทัศนคติด้านความคิด ความเชื่อ มีค่า Beta = .079 ทัศนคติด้านความรู้สึก มีค่า Beta = .350 และ ทัศนคติด้านพฤติกรรม มีค่า Beta = .539 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ธวัช วิเชียรประภา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

จังหวัดจันทบุรี ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ,(2555) :วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.

เนตรนภา กิจรุ่งพิพัฒน์และคณะ. (2555).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.ปีที่ 3 ฉบับที่ 1,(2555) วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

Taro Yamane.(1970). Statistic : an Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

Versions