ความต้องการและความคาดหวังต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ภูวดล อ้นนาค -management science

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ความคาดหวังต่อการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้และปัญญา ด้านการศึกษาต่อ/ได้งานทำ  และความคาดหวัง โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วย นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ระดับปริญญาตรีทุกคณะ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตหสากรรม และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้แบบฟอร์มจาก Google form แก่ นักศึกษากลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง แยกตามคณะ  จำนวน 381  คน คิดเป็น 100 % แล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามนำมา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครให้ความสำคัญกับความต้องการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม มาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความต้องการด้านความรู้และปัญญา และความต้องการด้านการศึกษาต่อ/ได้งานทำ ตามลำดับ 2.นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครให้ความสำคัญกับความคาดหวังให้มหาวิทยาลัยดูแลเรื่องความปลอดภัย เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ คาดหวังให้มหาวิทยาลัยมีทุนสนับสนุนนักศึกษาที่ขาดแคลนส่วนความคาดหวังให้มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนให้มีประสบการณ์ต่างประเทศ มาเป็นอันดับสุดท้าย

References

วีรชาติ พนาวิวัฒน์, ลลิตา อดุลย์กิตติไพศาล, เจษฎาภรณ์ วิริยะสกุลธรณ์ และสุภาพร จตุรภัทร. (2559).

ความต้องการ และความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สงวน ช้างฉัตร, สุวารีย์ วงศ์วัฒนา และบุษบา หินเธาว์. (2543). ความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

ของนักเรียนใน จังหวัดสุโขทัย ของ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก.

ดวงใจ เขมวิรัตน์. (2548). ความคาดหวังของนักศึกษาต่อการจักหารศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

วิทยาลัยเขต พระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมง พระนคร.

Taro Yamane. (1970). Statistic : an Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27 — Updated on 2023-02-05

Versions