ปัญหาการใช้จ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ทองอุ่น นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.11

คำสำคัญ:

งบกลาง, งบประมาณเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น, กรอบวินัยทางการคลัง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ การศึกษาพบปัญหาทางกฎหมายและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ปัญหาในการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของรัฐสภา ปัญหาในการควบคุมสัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปัญหาการกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตในการจัดสรรของงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นที่ไม่ชัดเจน ปัญหาด้านการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และปัญหาด้านการติดตาม ตรวจสอบงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นโดยรัฐสภาและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

ผู้เขียนได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้จ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของประเทศไทยให้มีความเหมาะสม เคร่งครัดมากยิ่งขึ้น เห็นว่าควรมีการแก้ไขกฎหมายหลัก 5 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 144 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 หมวด 7 วินัยการเงินการคลัง พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 11 (4) มาตรา 20 (6) และมาตรา 24 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 51 และระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 13 เพื่อเป็นกรอบทางกฎหมายในการควบคุมกระบวนการอนุมัติ การจัดสรร การใช้จ่าย การติดตาม และตรวจสอบงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของประเทศไทย โดยให้มีการกำหนดห้ามมิให้มีคำขอเพิ่มงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณรายจ่าย กำหนดสัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่องบประมาณรายจ่ายทั้งหมดอย่างเคร่งครัด กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้ชัดเจน กำหนดให้มีการจัดสรรและขั้นตอนการจัดสรรให้เคร่งครัดเพื่อป้องกันการใช้จ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และกำหนดให้มีการติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นโดยรัฐสภาและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้วินัยการคลังที่ดี ตามแนวคิด หลักการ และทฤษฎีการควบคุมงบประมาณเพื่อกรณีฉุกเฉิน ให้เกิดความมั่นคง และความยั่งยืนทางการคลังของประเทศในระยะยาวจะทำให้การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนชาวไทย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤติญดา เกิดลาภผล, มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการบริหารงบประมาณแผ่นดินประเภทงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร, 2561).

เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, มหากาพย์งบประมาณรายจ่ายงบกลาง: วิธีคิดและมุมมองต่อความเหมาะสม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://pridi.or.th/th/content/2021/08/802

ปรีดิ์เกษม ปรัชญพฤทธิ์, ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณรายจ่าย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร, 2561).

รัฐบาลไทย, สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 10 กันยายน 2562 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22953

วาทินี นุชเล็ก, มาตรการทางกฎหมายเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพของการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=1374

ศาสตรา สุดสวาท และฐิติมา ชูเชิด, ความโปร่งใสทางการคลังและความโปร่งใสในงบประมาณของไทยตามหลักสากล [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2016/07/thailand-trasparency-reseach-group2/

ศิริ พันธ์ทา, หลักสุจริตธรรมกับการบริหารองค์การอย่างยั่งยืน, วารสาร Journal of Modern Learning Development, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2559).

สมชัย สัจจพงษ์ และคณะ, การศึกษาวินัยทางการคลังของประเทศไทย (อดีตสู่ปัจจุบัน) และแนวทางในการเสริมสร้างวินัยทางการคลังตามหลักสากล [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.fpo.go.th/eresearch/getattachment/115a84b1-e000-415b-bb3b-1831b8093bad/12992.aspx

สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายการคลังภาคงบประมาณแผ่นดิน, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563).

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.audit.go.th/th/report/audit

สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การศึกษาวิเคราะห์และติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ฉบับที่ 2/2564, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณของรัฐสภา, 2564).

อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).

อรพิน ผลสุวรรณ สบายรูป, หลักกฎหมายทั่วไปทางภาษีอากร: หลักความยินยอม ใน รวมบทความงานวิชาการประจำปี พ.ศ. 2550 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552).

Global Facility for Disaster Reduction and Recovery (GFDRR), FINANCIAL PROTECTION AGAINST NATURAL DISASTERS, (World Bank Headquarters 1818 H Street NW Washington DC 20433 (U.S.)).

International Monetary Fund (IMF), Thailand: Report on Observance of Standards and Codes-Fiscal Transparency Module, IMF Occasional Paper No. 09/250.

IMF, Preparing Public Financial Management Systems for Emergency Response Challenges [Online], Source: https://www.imf.org

Marvin Phaup and Charlotte Kirschner, Budgeting for Disasters OECD 30th Annual Meeting of the Working Party of Senior Budget Officials [Online], Source: https://www.oecd.org/gov/budgeting/42407562.pdf

OECD, Best Practices for Budget Transparency [Online], Source: https://www.oecd.org/governance/budgeting/Best%20Practices%20Budget%20Transparency%20-%20complete%20with%20cover%20page.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2023

How to Cite

ทองอุ่น อัญชลี. 2023. “ปัญหาการใช้จ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของประเทศไทย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6 (2):59-89. https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.11.