มาตรการทางกฎหมายของอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออก กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมอบ
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.4คำสำคัญ:
อาเซียน, มาตรการทางกฎหมาย, ความปลอดภัยของอาหาร, ผลิตภัณฑ์ขนมอบบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทฤษฎีและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออก กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมอบในระดับสากลและระดับภูมิภาค เพื่อศึกษามาตรการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมอบในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทางกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมอบในภูมิภาคอาเซียน และเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมอบในภูมิภาคอาเซียน โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารจากหนังสือ บทความ และเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงศึกษามาตรการทางกฎหมายในระดับสากลที่มีการบังคับใช้ อาทิ หลักการปฏิบัติที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice) ระบบมาตรฐานวัตถุเจือปนสากล (Codex International Food Standard) การวิเคราะห์อันตรายและการควบคุมจุดวิกฤต (HACCP) และข้อกำหนดของระบบการบริหารงานความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) และฮาลาล (Halal) นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในระดับภูมิภาคของสหภาพยุโรป และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำมาวิเคราะห์และศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการสร้างมาตรการทางกฎหมายของอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออก กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมอบ
ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) มีสภาพปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางหรือแนวปฏิบัติที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศสมาชิกโดยแบ่งออกเป็นปัญหาหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหามาตรการทางกฎหมายของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ขนมอบ ซึ่งประกอบด้วย ปัญหาด้านการผลิต ปัญหาด้านการขึ้นทะเบียน ปัญหาด้านการนำเข้าและส่งออก ปัญหาด้านบทลงโทษและปัญหาด้านอัตราค่าธรรมเนียม 2) ปัญหามาตรการทางกฎหมายของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทขนมอบ ซึ่งเป็นในด้านการกลไกบังคับใช้กฎหมาย และ 3) ปัญหาที่เกิดจากหน่วยงานกลางที่ไม่มีบทบาทในการควบคุมดูแลการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายของอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ขนมอบ
สำหรับแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาผู้เขียนเห็นว่าอาเซียนควรกำหนดมาตรการของอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ขนมอบ เพื่อให้เกิดแนวทางในการสร้างมาตรการทางกฎหมายที่ควบคุมการผลิตอาหาร การขึ้นทะเบียนอาหาร การนำเข้าและส่งออกอาหาร และบทลงโทษ และมีหน่วยงานกลางที่เข้ามากำกับควบคุมดูแลให้เกิดกลไกการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่กฎหมายระหว่างประเทศต่อไปในอนาคตและเกิดมาตรการทางกฎหมายของอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออกประเภทผลิตภัณฑ์ขนมอบเป็นมาตรฐานกลาง ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมการค้าเสรีของประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียนให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมในด้านสวัสดิภาพของพลเมืองอาเซียนให้มีความอยู่ดีกินดีอีกด้วย
Downloads
References
กัลยาณี ดีประเสริฐวงศ์, GMP กฎหมาย Updates [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://food.fda.moph.go.th/data/document/2554/GMP4-2_LAW_Information.pdf
จารุประภา รักพงษ์, วิเคราะห์ปัญหาระบบกฎเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไทย, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2556).
รัษวรรณ อภิลักขิตกาล, มาตรฐานและกฎหมายอาหาร Food Standard and Regulations, พิมพ์ครั้งที่ 4, (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2562).
สถาบันอาหาร ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร, ผลิตภัณฑ์ขนมอบ ปี 2560 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=184
ศิริชนก วิริยเกื้อกูล, กฎหมายควบคุมกรดไขมันทรานส์ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=51494&filename=house 2558
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-296
สำนักยุทธศาสตร์การเจรจาการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, สาระสำคัญของความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://api.dtn.go.th/files/v3/5cff753e1ac9ee073b7bd515/download
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), ISO [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.tisi.go.th/website/interstandard/iso
สถาบันอาหาร ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร, กฎระเบียบและมาตรฐานอาหารต่างประเทศ: โคเด็กซ์ เรื่อง มาตรฐานทั่วไปสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร ปรับปรุงปี 2562 (CODEX General Standard for Food Additives, revision 2019), (กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ., 2562).
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม, ระบบ Hazard Analysis and Critical Control Point Critical Control Point Critical Control Point: HACCP (การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/HACCP_2.pdf
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม, มาตรฐาน ISO 2200 (ข้อกำหนดของระบบการบริหารงานความปลอดภัยด้านอาหาร) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://fic.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/ISO_22000%20-%202.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.