มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและควบคุมการใช้น้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520

ผู้แต่ง

  • จินต์ศุจี วีรวงศ์ตระกูล นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชานิติศาสตร์ สํานักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

น้ำบาดาล, มาตรการทางกฎหมาย, การจัดการและควบคุมการใช้น้ำบาดาล, การมีส่วนร่วมของชุมชน, สิทธิชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอปัญหามาตรการทางกฎหมายซึ่งใช้ในการจัดการและควบคุมการใช้น้ำบาดาลของประเทศไทยที่ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520  โดยการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายน้ำบาดาลของประเทศไทยกับกฎหมายน้ำบาดาลของต่างประเทศ ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การควบคุมและตรวจสอบการขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลและใช้น้ำบาดาลรวมถึงกลไกลการติดตามและตรวจสอบ การเจาะน้ำบาดาล ใช้น้ำบาดาลและระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาล ซึ่งกฎหมายน้ำบาดาลของประเทศไทยมีการบังคับใช้มาเป็นเวลายาวนาน จึงไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายหลายประการ ได้แก่ ปัญหาความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการออกใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล ใช้น้ำบาดาล และระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาล ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการติดตามตรวจสอบการเจาะน้ำบาดาล ใช้น้ำบาดาล และระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาล รวมถึงข้อจำกัดของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการน้ำบาดาล ได้แก่กฎหมายว่าด้วยละเมิดในคดีสิ่งแวดล้อม, ความซ้ำซ้อนของหน่วยงานซึ่งบังคับใช้กฎหมาย, ข้อจำกัดด้านการขาดประสิทธิภาพของผู้บังคับใช้กฎหมาย, ข้อจำกัดในการฟ้องร้องกรณีความเสียหายเกิดต่อทรัพย์สินส่วนรวม, ข้อจำกัดการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยผู้เขียนได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้ ประการแรก การแก้ไขเพิ่มเติมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียหรือตัวแทนประชาชนหรือชุมชน ประการที่สอง การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนในการร่วมติดตามและตรวจสอบการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล แก้ไขอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้มีอำนาจในการกำหนดค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล ประการที่สาม แก้ไขอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้มีอำนาจในการกำหนดค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล ประการที่สี่ แก้ไขอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เก็บเพื่อนำค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลเข้ากองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ประการสุดท้าย แก้ไขอัตราค่าปรับสำหรับความผิดจากการใช้น้ำบาดาลอย่างไม่ถูกต้อง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, การขออนุญาตเจาะและใช้น้ำบาดาลกันครับ มีขั้นตอนอย่างไร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.dgr.go.th/th/newsAll/124/3718

กิตติศักดิ์ ปรกติ, สิทธิชุมชน, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน,2550).

กรุงเทพธุรกิจ, เรื่องต้องรู้เจาะ “บ่อน้ำบาดาล” ขุดลึกแค่ไหน แล้วต้องทำเรื่องขออนุญาตอย่างไร [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/social/930901

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, การขออนุญาตเจาะและใช้น้ำบาดาลกันครับ มีขั้นตอนอย่างไร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.dgr.go.th/th/newsAll/124/3718

กลุ่มนิติการ กรมทรัพยากรน้ำ, รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dwr.go.th/uploads/file/law/2023/Article-230320092851-7Ryx.pdf

โกวิทย์ พวงงาม, การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน, (กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ, 2545).

เกรียงศักดิ์ พิราลัย, น้ำบาดาลคืออะไร [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/164764

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 7, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

เขตไท ลังการ์พันธุ์, สิทธิในสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญประเทศไทยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, (2560).

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice and Citizenship), (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เพรส จำกัด, 2560).

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ, น้ำบาดาลและแหล่งน้ำใต้ดิน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://ngthai.com/science/30365/groundwater/

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 26 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560).

ทศพร มูลรัตน์, หลักกฎหมายมหาชน, (พะเยา: มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา ศูนย์พัฒนาตำราทางกฎหมาย, 2550).

ธีรพงษ์ แก้วหาวงษ์, กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง, (ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2543).

ต่อพงษ์ กิตติยานุพงศ์, ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562).

นันทวัฒน์ บรมานันท์, การแบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน และแนวคิดปรัชญาของกฎหมายปกครอง, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://publaw.net/Publaw/view.aspx?ID=461

นันทวัฒน์ บรมานันท์, ความหมายของประโยชน์สาธารณะ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.pub-law.net/Publaw/view.aspx?ID=461

บรรเจิด สิงคะเนติ, การควบคุมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.pub-law.net/Publaw/view.aspx?ID=241

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2547).

ประภัสสร ปานป้อมเพชร, การคุ้มครองสิทธิเชิงกระบวนการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559).

ประยูร วงศ์จันทรา, วิทยาการสิ่งแวดล้อม = Environmental studies, (มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555).

ปาริชาติ วลัยเสถียร, ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542).

พระสำราญ นนทพุทธิ, การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), 2558.

มานิตย์ จุมปา, คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยหลักทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, การกระทำทางปกครอง : เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรหนักงานคดีปกครองระดับต้น, (ม.ป.พ., 2543).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2538).

วรานุช ภูวรักษ์, ปัญหาการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในศาลชั้นต้น, (กรุงเทพมหานคร: การหลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่น 10 สถาบันพัฒนาการข้าราชการศาลยุติธรรม, 2555).

ศิลปะวิชญ์ น้อยสมมิตรและโชติกา แก่นธิยา, การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ, วารสารวิจยวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2562).

สมคิด เลิศไพฑูรย์, หลักความได้สัดส่วน , วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 20, ฉบับที่ 4 (ธันวาคม 2533).

สมชาย ปรีชาศิลปกุล, นิติรัฐที่ไร้นิติธรรม, หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, (10 พฤษภาคม พ.ศ.2553).

สมบัติ นามบุรี, ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์, วารสารวิจยวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2562)

สมยศ เชื้อไทย, กฎหมายมหาชนเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 15 แก้ไขเพิ่มเติม (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

สมาคมน้ำบาดาลไทย, น้ำบาดาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.geothai.net/hydrogeology/

สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์, สถานการณ์สิทธิมนุษยชนด้านพลังงาน อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F07288.pdf?fbclid=IwAR2cTb5nDIs3GuUdPPgba-cX53B7FB8_xtTaqwbfoIFR07QTrXwuXCTNO2Y

สุนทรียา เหมือนพะวงศ์, กระบวนการสร้างยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม (ตอนที่1), วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (2551).

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์และคณะ, การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนทดแทนความเสียหายต่อสุขภาพจากมลพิษ, คณะนิติศาสตร์ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิญี่ปุ่น, (กรุงเทพมหานคร: 2531).

สุวิทย์ ปัญญาวงศ์, กฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, โครงการกำกับควบคุมประกอบกิจการน้ำบาดาล ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER079/GENERAL/DATA0000/00000394.PDF

สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา และทบวงมหาวิทยาลัย, ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชุดวิชาวิจัยชุมชน, (นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง, 2545).

ส่วนเฝ้าระวังทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, รายงานสถานการณ์น้ำบาดาลประจำปี พ.ศ.2565 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.dgr.go.th/th/public-service/download?file=GTMgMTqjqP5cBKt1pQygYKqcGTSgnTqHqP1cZ3t0pQygAUpgGTIgoTqcqTMcY3uypTkgnKqzGP9gp2qvqUOcY3uxpTSgo3qfGUOgqJpiqUWcM3uxpP9gq3q3GUqgY2qlqTScqati&n=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A5%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%202565%20up03102566&t=GTMgq2qxqS9cMUug&id=MmE0BTxmrQHWewEb3Q&type=view

อนันต์ คงเครือพันธุ์, ประโยชน์สาธารณะในแง่มุมคดีปกครอง, วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 47 ฉบับที่ 3 (2561).

อภิชาต ใจอารีย์, สิทธิชุมชน:สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, (นครปฐม: บริษัทเพชรเกษมการพิมพ์, 2556).

อุดมศักดิ์ สนธิพงษ์, กฎหมายสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2561).

อำนาจ วงศ์บัณฑิต ,กฎหมายสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 2 ,(กรุงเทพมหานคร:วิญญูชน ,2550).

Amnat Wongbandit, Water Use Conflicts Management in the Northeast:Case Studies of Nam siaw and Nam Pong, in Water Conflicts, Thailand Development Research Institute, (1994).

Bundesanstalt für Geowissenschaften und Rohstoffe (BGR), Die Grundwasservorkommen von Deutschland, [online], Source: https://www.bgr.bund.de/DE/Themen/Wasser/grundwasser_deutschland.html

Sandy Heirbacher, The Engage Stream Framework. National Coalition for Dialogue & Deliberation (NCDD), Source: www.ncdd.org

Huntington & Dominguez, Political development, Theoretical Economics Letters, Vol 8 No 15 (20 December 2018)

Japan International Cooperation Agency Ministry of Rural Development Cambodia, The Study on Groundwater Development in Southern Cambodia, [online], Source:https://openjicareport.jica.go.jp/pdf/11679164_01.PDF?fbclid=IwAR0ri76ihYGIr7Gp_Y9OuI4LTo-PwpQwd39e6S2BTtf6E3q8e6wa1p11MgY

Jun Tsukasa, The future of groundwater in Japan, [Online], Source: https://www.jesc.or.jp/Portals/0/center/library/seikatsu%20to%20kankyo/2019hashimoto.pdf

Kameri-Mbote, Patricia and Cullet, Philippe. “Environmental Justice and Sustainable Development: Integrating Local Communities in Environmental Management” [Online], Source: http://www.ielrc.org/content/w9601.pdf

Laura Erban and Steven Gorelick, Closing the irrigation deficit in Cambodia: Implications for transboundary impacts on groundwater and Mekong River flow, [Online], Source: https://shorturl.asia/aAEHc

Mak Sithirith, Water Governance in Cambodia: From Centralized Water Governance to Farmer Water User Community, [Online], Source: file:///C:/Users/admin/Downloads/resources-06-00044.pdf

Mittwater, น้ำในดิน และ น้ำบาดาล แตกต่างกันอย่างไร ? เลือกใช้น้ำจากไหนมาทำระบบน้ำประปาดีกว่ากัน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.mittwater.com/groundwater-vs-soil-water/

Mulle, P., Le principle de la proportionnalite’, Revue de droit suisses, 1978, P. 198. อ้างถึงใน วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, หลักการว่าด้วย “การกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย” ใน คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายปกครอง, (สำนักอบรมนักศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2545).

Wilhelm Georg, Holger kories, and Thoren Joachim ,Groundwater Management in Urban Areas in Germany, [Online], Source: https://www.researchgate.net/publication/266355490_GROUNDWATER_MANAGEMENT_IN_URBAN_AREAS_IN_GERMANY

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10.07.2024

How to Cite

วีรวงศ์ตระกูล จินต์ศุจี. 2024. “มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและควบคุมการใช้น้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2024 (7):228-88. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2660.