มุมมองทางกฎหมายเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคล

ผู้แต่ง

  • ชนินทร์ อินทรปัญญา อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • วัชระ กลิ่นสุวรรณ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • เกรียงไกร เจริญธนาวัตน์ ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มุมมองทางกฎหมาย, ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, ผู้สิ้นสภาพบุคคล

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีบทบัญญัติที่รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้โดยเป็นการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่ผู้มีสภาพบุคคล ส่งผลให้ขอบเขตในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ครอบคลุมไปถึงผู้สิ้นสภาพบุคคล ทั้งยังปรากฏให้เห็นถึงการกระทำที่เข้าข่ายอันเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคลในสังคมไทยอยู่หลายกรณี ปัญหาดังกล่าวเกิดจากบทบัญญัติที่มีผลให้การบังคับใช้และการตีความกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคลในประเทศไทยยังอาจไม่มีความเหมาะสม จากการศึกษาพบว่า แนวคิดของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในบริบทสากลมีขอบเขตในการคุ้มครองที่ครอบคลุมบุคคลที่มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย ทารกในครรภ์มารดา และผู้สิ้นสภาพบุคคลที่ยังคงรูปกายสมบูรณ์ หรือมีส่วนของร่างกาย หรือมีเถ้ากระดูกด้วย และมีการบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมายไทยและสอดคล้องตามแนวคิดสากล อันจะส่งผลให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 ให้เป็นบทบัญญัติที่ครอบคลุมไปถึงผู้สิ้นสภาพบุคคล และสร้างความชัดเจนในการให้คำนิยามและขอบเขตของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคลให้แก่องค์กรของรัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองบรรณาธิการประชาไท, รายงาน: “พิพิธภัณฑ์ชีวิต” แห่งวัดพระบาทน้ำพุ : พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา? [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://prachatai.com/journal/2010/07/30345

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, คุณค่าของความเป็นมนุษย์ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใน รัฐธรรมนูญ 60: 60 ปี สมคิด เลิศไพฑูรย์ รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, บรรณาธิการโดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2562).

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 9 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2566).

ข่าวเด็ด 7 สี, วิจารณ์หนัก สัมผัสร่างพระเกจิ วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://news.ch7.com/detail/662115

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2562).

คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจร่างรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ, เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/303063

จรัญ โฆษณานันท์, รัฐธรรมนูญ 2540: จาก “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สู่ธัมมิกสิทธิมนุษยชน”, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2544).

จรัล ดิษฐาอภิชัย, คู่มือสิทธิมนุษยชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2549).

เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, สรุปผลการประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ณ โรมแรมรอยัล คลิฟ บีช พัทยา [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/law%20personal/2540/yi/yi400422.tif

ชนาภา เจียรศิริกุล, ขอบเขตการคุ้มครองการกระทำความผิดเกี่ยวกับศพ, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560).

ชนินทร์ อินทรปัญญา, บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ภายใต้วัฒนธรรมทางการเมืองไทย: กรณีศึกษา รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561).

ณวภา รุจิกัณหะ, สถานะและปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับศพและชิ้นส่วนของศพ, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545).

ไทยรัฐออนไลน์, สุดโหดฆ่าเปลือย 2 ชายหญิงเมืองผู้ดี คาชายหาดเกาะเต่า [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/south/450358

นิตยา จงแสง, การรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: การศึกษากรณีการกำหนดสถานะของสภาพบุคคล, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562)

บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด, ศิริราช รับทารกดองหายจากพิพิธภัณฑ์ สงสัยฝรั่งฉก [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.sanook.com/news/1700941/

บล็อกดิต, รำลึก 16 ปี “สึนามิ” รวมภาพเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ของไทย [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.blockdit.com/posts/5fe6cb9f28dc500cc285e845

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์, เรียนเล่นเล่น #8: รัฐธรรมนูญเยอรมัน เรียนกับปูนเทพ ศิรินุพงศ์ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://prachatai.com/journal/2015/06/59731

พระยาเทพวิฑูร (บุญช่วย วณิกกุล), อธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2, (พระนคร: โรงพิมพ์ไทยพิทยา, 2509).

โพสต์ทูเดย์, ตลึง! พบศพทารกถูกดองร่วม 20 ขวดที่อุบลฯ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/politics/35282

วรพชร จันทร์ขันตี, การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561).

วรพชร จันทร์ขันตี, แนวคิดในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, วารสารนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พฤศจิกายน 2564).

วัชชิรานนท์ ทองเทพ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย, ซีอุย: ฌาปนกิจร่าง “ซีอุย แซ่อึ้ง” ปิดตำนานผู้ที่ถูกสังคมตั้งฉายา “มนุษย์กินคน” [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/thai/thailand-53509935

ศิริชัย สมศรี, อำนาจตุลาการกับการวินิจฉัยสถานะทางรัฐธรรมนูญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558).

สายฝน ปุนหาวงศ์, ข้อสังเกตในการบัญญัติกฎหมายความผิดเกี่ยวกับศพให้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน, วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2562).

อริยพร โพธิใส, การกระทำความผิดต่อศพ : ปัญหาที่รอการแก้ไข, วารสารจุลนิติ, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2558).

เอช เอกูต์ และนายจิตร์ ลุลิตานนท์, คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล, (พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2477).

Aharon Barak, Human Dignity: The Constitutional Value and the Constitutional Right, (New York: Cambridge University Press, 2015).

Christopher McCrudden, Human Dignity and Judicial Interpretation of Human Rights, The European Journal of International Law, Volume 19 Issue 4 (September 2008).

Divine Fuh, Human Dignity in Humanitarianism: Keywords, Edited by Antonio De Lauri, (Boston: Brill, 2020).

Dominique Manaï, Human Dignity: Conceptual Unity and Plurality of Content in Swiss Law in The Reality of Human Dignity in Law and Bioethics Comparative Perspectives, Edited by Brigitte Feuillet-Liger and Kristina Orfali, (Switzerland: Springer Nature Switzerland AG, 2018).

Francoise Furkel, The Principle of Dignity in Germany and Its Irradiating Effect with Regard to Biomedicine in The Reality of Human Dignity in Law and Bioethics Comparative Perspectives, Edited by Brigitte Feuillet-Liger and Kristina Orfali, (Switzerland: Springer Nature Switzerland AG, 2018).

Francis Kernaleguen, The Jurisprudential Reality(-ies) of the Principle of Human Dignity in France: A Prevailing or an Authoritative Principle? in The Reality of Human Dignity in Law and Bioethics Comparative Perspectives, Edited by Brigitte Feuillet-Liger and Kristina Orfali, (Switzerland: Springer Nature Switzerland AG, 2018).

Giorgio Agamben, Homo Sacer: Sovereign Power and Bare Life, (California: Stanford University Press, 1998).

Hassan Abdelhamid, The Reality of the Human Dignity Principle in the Framework of the Egyptian Legal System in The Reality of Human Dignity in Law and Bioethics Comparative Perspectives, Edited by Brigitte Feuillet-Liger and Kristina Orfali, (Switzerland: Springer Nature Switzerland AG, 2018).

Phil Harris, An Introduction to Law, 7th ed. (New York: Cambridge University Press, 2007).

The Law Dictionary, Search Results for: corpse [Online], Source: https://thelawdictionary.org/?s=corpse

The Law Dictionary, Search Results for: dead [Online], Source: https://thelawdictionary.org/?s=dead

The Law Dictionary, Search Results for: decedent [Online], Source: https://thelawdictionary.org/?s=decedent

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10.07.2024

How to Cite

อินทรปัญญา ชนินทร์, กลิ่นสุวรรณ วัชระ, และ เจริญธนาวัตน์ เกรียงไกร. 2024. “มุมมองทางกฎหมายเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคล”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2024 (7):48-94. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2905.